ผลข้างเคียงของการปลูกผม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพลักษณ์และความมั่นใจเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ในปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่สูญเสียความมั่นใจจากปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน-เถิก การปลูกผมเป็นหัตถการที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามการปลูกผม ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถทำได้ เนื่องจากการปลูกผมเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางการแพทย์และศิลป์ เพราะฉะนั้นการเลือกแพทย์ที่มีความสามารถและมีคุณสมบัติที่เพียงพอเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนเข้ารับการปลูกผม ในกรณีที่แพทย์ปลูกผมมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผ่าตัดไม่ดีและได้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน บทความนี้จะพูดถึงข้อผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนต่างๆ ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการปลูกผม รวมถึงวิธีการลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงและความเสี่ยงต่างๆหลังเข้ารับปลูกผม
ข้อผิดพลาดในการรักษา
ข้อผิดพลาดในการรักษามีทั้งข้อผิดพลาดระหว่างการปรึกษาแพทย์และการอธิบายชี้แจงก่อนการปลูกผม ข้อผิดพลาดในการผ่าตัด หรือข้อผิดพลาดในการดูแลหลังการผ่าตัด ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่จะเกิดจากแพทย์ปลูกผม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
ข้อผิดพลาดในการให้คำแนะนำและการชี้แจง
ก่อนเข้ารับการปลูกผมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้หลายประการ เช่น
- การวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง: ในบางครั้ง คนไข้ที่มีอาการศีรษะล้านเถิก และได้รับการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเข้ารับการปลูกผมแล้ว ผลลัพธ์หลังปลูกผมอาจไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากการปลูกผมไม่ใช่ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับปัญหาผมร่วงทุกประเภทดังนั้น การเลือกแพทย์ที่มีความสามารถเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ
- ความคาดหวังที่ไม่สามารถบรรลุได้: หลายครั้งที่คนไข้มีความคาดหวังในผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปไม่ได้ เช่น ต้องการกลับมามีแนวไรผมเหมือนคนหนุ่มสาวแม้ตนเองจะแทบไม่เหลือเส้นผมแล้ว ซึ่งแพทย์ปลูกผมจะต้องให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาและชี้ให้เห็นถึงปัญหาของคนไข้ รวมถึงแนวทางการรักษาด้วยการปลูกผมที่เป็นไปได้ โดยยึดตามหลักความเป็นจริง ไม่ให้ความหวังที่เป็นไปได้ยากกับคนไข้
- การขาดข้อมูล: ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอเกี่ยวความเสี่ยงของการปลูกผม
ข้อผิดพลาดในการผ่าตัด
ระหว่างการผ่าตัด อาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์:
- แพทย์มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม: สาเหตุสำคัญของข้อผิดพลาดคือแพทย์ปลูกผมมีคุณสมบัติไม่เพียงพอและไม่ใส่ใจในมาตรฐานทางการแพทย์ คนไข้ควรหาข้อมูลของแพทย์ปลูกผม ศึกษาภาพก่อนและหลังการรักษา ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ จำนวนเคสปลูกผม เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ของการปลูกผมที่พึงประสงค์
- การเลือกวิธี/เทคนิคที่ไม่เหมาะสม: วิธีการปลูกผมที่ใช้กันมากที่สุดในอดีตก็คือ FUE และ FUT ซึ่งแต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามทั้งสองวิธีไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย และยังคงมีผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ อย่างไรก็ตาม ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปัจจุบันและการพัฒนาของอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการปลูกผม ได้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เช่น DHI และ LONG HAIR DHI เพื่อให้ผลลัพธ์การปลูกผมมีความเป็นธรรมชาติ และเหมาะสมกับคนไข้ที่สุด
- การเก็บเนื้อเยื่อหรือรากผมอย่างไม่เหมาะสม: การปลูกผมโดยใช้วิธี FUT อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ ณ บริเวณหนังศีรษะทางด้านหลัง ซึ่งไม่เหมาะกับคนไข้ที่ต้องการไว้ผมสั้น ในทำนองเดียวกัน การปลูกผมโดยใช้วิธี FUE หากนำกลุ่มรากผมออกมากเกินไป ก็อาจทำให้ผมด้านหลังดูบางจนผิดธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการเก็บเนื้อเยื่อหรือรากผมที่ไม่เหมาะสมก็สามารถสร้างแผลที่ไม่ธรรมชาติให้คนไข้ได้เช่นเดียวกัน
- การเตรียมความพร้อมและการปลูกผมที่ไม่ถูกต้อง: ยิ่งจำนวนกราฟต์ผมมาก (จำนวนเซลล์รากผม) และอยู่ห่างกันเท่าใด ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งดูไม่เป็นธรรมชาติ และมีลักษณะเป็นกระจุก ดังนั้น กราฟต์ผมจึงควรมีขนาดเหมาะสมและปลูกให้ใกล้กันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ความสะอาดในห้องผ่าตัด: การขาดสุขอนามัยระหว่างการผ่าตัดจะทำให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการปลูกผมได้
- อุปกรณ์ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม: อุปกรณ์ผ่าตัดที่ล้าสมัยหรือชำรุด อาจทำให้ได้ผลลัพธ์การปลูกผมที่ไม่ดีเท่าที่ควร
ข้อผิดพลาดในการดูแลหลังการผ่าตัด
แม้หลังจากปลูกผมแล้วก็อาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ไม่ว่าจะจากแพทย์หรือตัวคนไข้เอง
- ข้อผิดพลาดจากแพทย์ปลูกผม: แพทย์อาจให้ข้อมูลวิธีการดูแลและการปฏิบัติหลังปลูกผมไม่ครบถ้วน ทำให้คนไข้พลาดโอกาสและทำให้ผลลัพธ์หลังปลูกผมไม่ดีเท่าที่ควร
- ข้อผิดพลาดจากคนไข้:
แม้ได้รับข้อมูลการปฏิบัติหลังปลูกผมอย่างครบถ้วนจากแพทย์แล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจละเลย ซึ่งอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการปลูกได้เช่นเดียวกัน
ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อน
นอกจากข้อผิดพลาดในการรักษาที่เกิดจากมนุษย์แล้ว ยังมีผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์ไม่สามารถควบคุมได้:
- ความเสี่ยงในการติดเชื้อ: เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ การปลูกผมก็มีความเสี่ยงติดเชื้อเช่นกัน แต่มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำ
- การมีเลือดออก: อาจมีเลือดออกหลังการผ่าตัดเนื่องจากการบาดเจ็บที่หนังศีรษะ ซึ่งสามารถใช้ผ้าก๊อซกดตรงบริเวณที่มีเลือดออกเพื่อห้ามเลือดในเบื้องต้น
- อาการบวม: หลังการผ่าตัด อาจเกิดอาการบวมที่หน้าผากและบริเวณดวงตา อาการนี้เกิดขึ้นชั่วคราว และมักจะหายไปภายใน 3-5 วัน การนอนศีรษะสูงจะช่วยลดอาการบวมได้
- อาการคัน ตึง และชา: ทันทีหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงและชาชั่วคราว
- อาการปวดที่แผลเป็น: โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกผมด้วยวิธี FUT ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บบริเวณที่เย็บปิดแผลเป็นครั้งคราวหลังการปลูกผม
- การเกิดสะเก็ดแผล: อาจเกิดสะเก็ดแผลขนาดเล็กในบริเวณที่รักษา ซึ่งสะเก็ดแผลเหล่านี้จะหลุดออกไปหลังจากผ่านไป 14 วัน
- ภาวะผมร่วงหลังจากการปลูกผม (Shock Loss): อาจเกิดภาวะผมร่วง หรือ Shock Loss ในระยะแรกหลังการปลูกผม ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อของผิวหนังในบริเวณที่อยู่ติดกัน โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
- อาการไอหรือสะอึก: แม้ว่าจะเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ยาก แต่ผู้ป่วยบางรายรายงานว่ามีอาการไอหรือสะอึกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2-3 วันหลังจากการปลูกผม ในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม อาการแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคนไข้