วิธีการรักษาผมร่วง 41 วิธี

การรักษาผมร่วงนั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธี ตั้งแต่การรักษาจากสารอาหารธรรมชาติ ไปจนถึงการใช้ยาและหัตถการผ่าตัดปลูกผม ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงวิธีการรักษาผมร่วงโดยสังเขป และอธิบายว่าเหมาะสมกับปัญหาผมร่วงประเภทใด

การรักษาจากสารอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไป

การรักษาจากสารอาหารธรรมชาติที่มีในครัวเรือนเป็นทางเลือกที่ง่าย และราคาถูกกว่ายาทั่วไปและเป็นส่วนหนึ่งของการใช้วิธีธรรมชาติบำบัด โดยการรักษาที่ใช้สารอาหารจากธรรมชาติที่มีใช้ในครัวเรือนเชื่อกันว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาผมร่วง มีดังต่อไปนี้

  1. น้ำมันเมล็ดฟักทอง 
    น้ำมันเมล็ดฟักทองมีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไปเป็น DHT จึงสามารถช่วยป้องกันผมร่วงจากสาเหตุของพันธุกรรมหรือฮอร์โมน และจากการศึกษาในปี 2014 ในเกาหลี ได้ยืนยันแล้วว่าน้ำมันเมล็ดฟักทองมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรมในเพศชายที่รับประทานน้ำมันเมล็ดฟักทองวันละ 400 มิลลิลิตร เป็นเวลา 6 เดือน โดยพบว่าทำให้ความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ใช้ยาหลอก  (placebo)
  1. ว่านหางจระเข้

       ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมายและอีกหนึ่งสรรพคุณของว่านหางจรเข้คือ มีผลยับยั้งการร่วงของเส้นผมได้ สมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง และมีสารเบต้า-ซิโตสเตอรอล (Beta-Sitosterol) ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะและช่วยปรับสมดุลค่า pH จึงน่าจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ว่านหางจระเข้สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในรูปของน้ำว่านหางจระเข้หรือเจล ทั้งในร้านขายยาทั่วไป วิธีใช้: ทาลงบนหนังศีรษะ นวด และปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้ซึมเข้าสู่หนังศีรษะทุกวันโดยไม่ต้องล้างออก

  1. แปะก๊วย

       แปะก๊วยนั้นนอกจากจะมีสรรพคุณที่ส่งผลดีต่อความจำแล้ว ยังสามารถช่วยเรื่องผมร่วงได้เช่นกัน โดยแปะก๊วยจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยป้องกันไม่ให้เส้นผมขาดสารอาหาร โดยทาซีรั่มแป๊ะก๊วยลงในบริเวณที่มีปัญหาเพื่อแก้ปัญหาผมร่วง เป็นประจำทุกวันได้ 

  1. ชาเขียว

       ในชาเขียวมีสารแทนนิน(tannin)ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และเชื่อว่าสามารถหยุดอาการผมร่วงได้อีกด้วย ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ แต่ยังไม่มีงานวิจัยอย่างแน่ชัดว่าชาเขียวสามารถช่วยเรื่องผมร่วงได้แต่จากหลักการที่ว่าสารอนุมูลอิสระนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมร่วงดังนั้นจึงเชื่อว่าสารต้านอนุมูลอิสระสามารถหยุดผมร่วงได้นั้นเอง   การที่จะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ก็สามารถใช้วิธีการรับประทานชาเขียวเป็นประจำทุกวันนั้นเอง

 

  1. น้ำมันอาร์แกน

       น้ำมันอาร์แกนส่งผลดีต่อผิวหนังและเส้นผม เนื่องจากประกอบไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) สารพอลิฟีนอล(Polyphenol) และวิตามินอี จึงไม่เพียงแต่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเท่านั้น แต่ยังสามารถหยุดปัญหาผมร่วงได้อีกด้วย เนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนในน้ำมันอาร์แกนจะมีผลในการบำรุงรากผม และเส้นผม ให้สมบูรณ์และแข็งแรงจึงลดปัญหาผมร่วงได้   วิธีใช้: นวดน้ำมันลงบนหนังศีรษะ จากนั้นจึงล้างออก สามารถใช้เป็นประจำทุกวัน 

  1. น้ำมันมะพร้าว

       น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก(Chloric acid) ซึ่งจะกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงรากผมทำให้รากผมได้รับสารอาหาร จึงสามารถลดการหลุดร่วง และกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม นอกจากนี้ น้ำมันมะพร้าวยังช่วยรักษาอาการผมบาง เนื่องจากมีกรดไขมันช่วยบำรุงรากผมและเส้นผมอีกด้วย   วิธีใช้: นวดน้ำมันมะพร้าวลงบนหนังศีรษะเช่นเดียวกับน้ำมันอาร์แกนแล้วล้างออก ใช้เป็นประจำทุกวัน

  1. เนตเทิล (Nettle)

       เนทเทิลเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยเรื่องผมร่วง เนืองจากเนตเทิลอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามิน เช่น โปแทสเซียม เหล็ก และวิตามินบี นอกจากนี้ เมล็ดของเนตเทิลยังมีไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5a-reductase ที่เปลี่ยนเเทสโทสเตอโรนเป็น DHT ซึ่งมีผลทำให้เกิดผมร่วง ดังนั้นจึงช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ 

วิธีใช้: ใส่น้ำมันใส่ผมที่สกัดจากเนตเทิลวันละครั้ง   

  1. คนทีเขมา (Vitex agnus-castus)

       คนทีเขมาเป็นพืชท้องถิ่นแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีฮอร์โมนพืช ที่เรียกว่า ไฟโตฮอร์โมน(phytohormones) สามารถช่วยปรับสมดุลของระบบฮอร์โมนในร่างกายได้   ซึ่งนิยมนำมาใช้ควบคุมรอบประจำเดือนในเพศหญิง และยังมีรายงานว่าส่งผลดีต่อการงอกของเส้นผม อีกด้วย

  1. ลูกซัด (Fenugreek)

       เมล็ดลูกซัดเป็นพืชถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมีสารอาหารที่สำคัญต่อการงอกของเส้นผม เช่น วิตามินซี วิตามินบี และธาตุเหล็ก ดังนั้นจึงสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงและเพิ่มความหนาแน่นให้กับผมได้ โดยการรับประทานลูกซัดอัดเม็ดเป็นประจำทุกวัน

  1. น้ำมันละหุ่ง

       น้ำมันละหุ่งสกัดได้จากต้นละหุ่ง (Ricinus Communis) ซึ่งกล่าวกันว่าน้ำมันชนิดนี้จะส่งผลดีต่อโรคผมร่ว เพราะน้ำมันละหุ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-9 ซึ่งจะช่วยบำรุง เสริมสร้าง และกระตุ้นการงอกของเส้นผม โดยการทาลงบนบริเวณที่เถิกล้านโดยตรง ซึ่งน้ำมันละหุ่งจะผลิตมาเพื่อเป็นน้ำมันที่ใช้กับเส้นผมโดยเฉพาะหรือน้ำมันละหุ่งที่ใช้ทั่วไป แต่ส่วนประกอบไม่ได้แตกต่างกันมากจะใช้แบบไหนก็ได้

  1. ไบโอตินชนิดเม็ด (Biotin)

       ไบโอติน หรือที่เรียกว่า วิตามินเอช หรือวิตามินบี7 เป็นวิตามันที่สำคัญอย่างมากต่อผิวหนังและเส้นผม และสามารถช่วยในลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี  เพราะ ไบโอตินเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเคราติน และเนื่องจากเล็บ เส้นผม และผิวหนังนั้นสร้างขึ้นจากเคราติน ดังนั้นไบโอตินจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตเคราติน   การขาดไบโอตินอาจนำไปสู่การหลุดร่วงของเส้นผม โดยอาการที่พบได้ในการขาดไบโอติน ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อและไม่อยากอาหาร ฺBiotin พบมากในถั่ว ผักโขม ข้าวโอ๊ต หรือในรูปของยาเม็ดจากร้านขายยา วิธีใช้คือการรับประทานพืชที่อุดมด้วยไบโอตินหรือ ไบโอตินชนิดเม็ดก็ได้เช่นกัน

  1. สังกะสี

       สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการผลิตคอลลาเจน และคอลลาเจนก็สำคัญต่อเส้นผมเพราะเป็นโปรตีนโครงสร้างที่มีหน้าที่ยึดรากผมไว้กับผิวหนัง ดังนั้น การขาดสังกะสีจึงอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ และเป็นที่ทราบกันว่าผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) จะลุกลามมากขึ้นเมื่อขาดสังกะสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ร่างกายของเราจะได้รับสังกะสีจากอาหาร จำพวก ถั่วบราซิล ถั่วฝักยาว หรือเนื้อสัตว์และปลา หรือแร่สังกะสีชนิดเม็ดได้อีกด้วย

  1. ปาล์มใบเลื่อย (Saw Palmetto)

       ปาล์มใบเลื่อยเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาเหนือ โดยจะใช้ผลของมันเพื่อนำมารักษาเส้นผมให้ผมมีสุขภาพดี และปรับปรุงคุณภาพของผิวหนัง เนื่องจากสารสกัดจากผลปาล์มใบเลื่อยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha-reductase จึงสามารถยับยั้งการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนไปเป็นดีไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ที่เป็นสาเหตุของผมร่วง ในปัจจุบัน มีการจำหน่ายน้ำมันปาล์มใบเลื่อยในร้านขายยา ทั้งในรูปของแชมพูและสารสกัดเพื่อรับประทานอีกด้วย   

 

  1. สารชัลโฟราเฟน (Sulforaphane)

       ซัลโฟราเฟนเป็นสารที่อุดมด้วยซัลเฟอร์ที่พบได้ในบร็อกโคลี ฮอสแรดิช และรูกูล่า ซึ่งมีสรรพคุณในการลดระดับของ DHT ได้ จึงช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม และจากผลการศึกษาในญี่ปุ่นยืนยันว่าซัลโฟราเฟนจะกระตุ้นการผลิตเอนไซม์ 3-alpha-hydroxysteroid dehydrogenase ซึ่งจะลดระดับ DHT ได้อย่างมีนัยสำคัญ วิธีใช้ ใช้รับประทานในพืชที่กล่าวมาแล้วหรือรับประทานสารสะกัด ซัลโฟราเฟนชนิดเม็ด ก็ได้เช่นกัน

สรุป: สารจากจากธรรมชาติที่ใช้กันในการรักษาปัญหาผมร่วงผมบาง

 แม้ว่าสารจากธรรมชาติเหล่านี้จะมีราคาถูก หาได้ง่าย และไม่ค่อยส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงที่ชัดเจน แต่การใช้เพือเป็นการรักษาเบื้องต้นก็ถือว่าได้ประโยชน์

ผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม

  1. แชมพูคาเฟอีน

       แชมพูสำหรับผมร่วงสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรักษาอย่างรวดเร็ว แชมพูที่มีคาเฟอีนจะสามารถกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าคาเฟอีนมีผลต่อการรักษาโรคผมร่วง แต่แชมพูคาเฟอีนนั้นมีราคาถูกกว่าวิธีการอื่น ๆ และสามารถหาได้ง่าย จึงสามารถใช้เพื่อเป็นการรักษาเบื้องต้นได้

  1. Alpecin

       แชมพูคาเฟอีนที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ Alpecin โดย Dr. Wolff ผู้ผลิตระบุว่า แชมพูชนิดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม โดยการยืดระยะการเจริญเติบโตของรากผม นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า Alpecin สิามารถช่วยเรื่องปัญหาหนังศีรษะ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า Alpecin สามารถรักษาผมร่วงได้จริงหรือไม่  

  1. แชมพูคีโทโคนาโซล

       แชมพูคีโทโคนาโซลเป็นแชมพูซึ่ผลิตเพื่อรักษาโรคกลาก ไม่ใช่ผมร่วง และในภายหลังได้มีการรายงานว่าแชมพูชนิดนี้เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคผมร่วงและกระตุ้นการสร้างผมใหม่ แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอที่จะสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้แชมพูนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางประการ เช่น ระคายเคืองผิวหนัง สิว การรับรสผิดปกติ และระคายเคืองดวงตา ดังนั้น หลายประเทศจึงได้ออกกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทจำหน่ายแชมพูชนิดนี้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องมีใบสั่งยา แทนการจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  

  1. แชมพูไพริไธโอนซิงค์ 2%

       ไพริไธโอนซิงค์เป็นสารออกฤทธิ์ที่ถูกนำมาใช้ในแชมพูขจัดรังแคหลายชนิด เพื่อกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายออกจากหนังศีรษะ ดังนั้นแชมพูนี้จึงเป็นประโยชน์หากสาเหตุของปัญหาผมร่วงนั้นเกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตาย ที่ไปยับยั้งการงอกของผม อย่างไรก็ตาม หากสาเหตุของปัญหาผมร่วงนั้นเกิดจากพันธุกรรม การรักษาด้วยวิธีนี้จะไม่ได้ผลต่อการรักษา  

 

  1. Nioxin

       แชมพู Nioxin ประกอบด้วย คาเฟอีน (Caffeine) ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) และแพนธีนอล (Panthenol) ซึ่งกล่าวกันว่าสามารถกระตุ้นการงอกและป้องกันการขาดของเส้นผมได้ และยังแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วงมากจนเกินไปในขณะที่เข้ารับเคมีบำบัด แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ เช่นเดียวกับแชมพูคาเฟอีนชนิดอื่น ๆ

  1. ซีรั่มผม Thiocyn

       Thiocyn เป็นซีรั่มใส่ผมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสารไธโอไซยาเนต (Thiocyanate) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่พบได้ตามธรรมชาติในร่างกาย และเชื่อกันว่าช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเส้นผม นอกจากไธโอไซยาเนตแล้ว ผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดนี้ยังมีอาร์จีนีน (Arginine)และแพนธีนอล (Panthenol) แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานยืนยันประสิทธิภาพของไธโอซินที่ชัดเจน แต่สารออกฤทธิ์นี้ก็ให้ผลดีกับเส้นผมที่อยู่บนหนังศีรษะ วิธีใช้: ทาลงบนหนังศีรษะวันละครั้ง  

  1. Trichosense

       ผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดทา Trichosense ประกอบด้วย เมลาโทนิน (Melatonin) แปะก๊วย และไบโอติน (Biotin) แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ยืนยันมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงที่ชัดเจนเช่นกัน การใช้งาน: ทาผลิตภัณฑ์ลงบนหนังศีรษะก่อนนอน  

สรุป: ผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม

       ผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม เช่น แชมพูและซีรั่มป้องกันผมร่วง มักอ้างว่าจะสามารถรักษาโรคผมร่วงได้ในทันที “อย่างน่าอัศจรรย์” แต่ในความเป็นจริง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะให้ผลช้า และยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการทดลองทางคลินิก) ที่สนับสนุนว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง จึงไม่เป็นอันตรายที่จะลองใช้

ยา

  1. ไมน็อกซิดิล(minoxidil)

       แต่เดิมนั้น ยาไมน็อกซิดิลได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นยารักษาความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตาม มีหลายงานวิจัยที่พบว่า ไมน็อกซิดิลสามารถกระตุ้นการงอกของผม และป้องกันการลุกลามของผมร่วง แม้ว่าจะมีหลายงานวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่ายานี้มีประสิทธิภาพ แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าสามารถป้องกันผมร่วงได้อย่างไร โดยก็มีการกล่าวกันว่าน่าจะเป็นผลมาจากการเพิ่มการไหลเวียนเลือดในหนังศีรษะ วิธีใช้: ทาโฟมหรือสารละลายไมน็อกซิดิลในบริเวณที่ต้องการ   

  1. Rogaine

       Rogaine (หรือที่เรียกว่า Regaine) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมน็อกซิดิลที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ผลิตโดยบริษัท Johnson & Johnson และมีการโฆษณาว่าสามารถป้องกันโรคผมร่วง และสามารถกระตุ้นการงอกของผมในผู้ป่วยบางราย โดยจากการศึกษาโดยการสังเกตเป็นเวลา 1 ปี ในผู้ใช้ 11,000 คน พบว่า ผู้ป่วย 92% มีปัญหาผมร่วงลดลง และผู้ป่วยประมาณ 30% มีผมงอกมากขึ้น นอกจากนี้ มีคู่มือทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าไมน็อกซิดิลนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาผมร่วง แต่อย่างไรก็ตาม ไมน็อกซิดิลไม่ได้ให้ผลที่ยั่งยืน หากผู้ป่วยหยุดใช้ โรคผมร่วงก็จะกลับมาอีกครั้งภายใน 3 เดือน ดังนั้นจึงต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมน็อกซิดิลอย่างสม่ำเสมอ   

  1. ยาฟินาสเตอไรด์(finasteride)

       แต่เดิมนั้น ยาฟินาสเตอไรด์ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาอาการอื่น ๆ แต่มีรายงานจำนวนมากที่ระบุว่ายาชนิดนี้สามารถช่วยหยุดปัญหาผมร่วง และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่พิสูจน์ว่าฟินาสเตอไรด์เป็น “สารยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase” นั่นคือ สามารถยับยั้งการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) จึงสามารถหยุดผมร่วงที่เกิดจากฮอร์โมน หนึ่งในคนดังที่ใช้ยาชนิดนี้ คือ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งยังคงมีผมเต็มศีรษะแม้ว่าจะอายุมากแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บางรายพบว่ามีผลข้างเคียงคือความบกพร่องทางเพศ (และในบางกรณีก็มีปัญหาทางจิตด้วย)

  1. Propecia และ Proscar

       ผลิตภัณฑ์ Propecia จากบริษัท Merch & Co. มีตัวยาฟินาสเตอไรด์ 1 มิลลิกรัม   Propecia จะให้ผลดีเมื่อใช้อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ที่มีส่วนผสมของตัวยาฟินาสเตอไรด์ หรือไมน็อกซิดิล และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้หญิง   วิธีใช้: รับประทานวันละเม็ด (ต้องมีใบสั่งยา)  นอกจากนี้ บริษัท Merck & Co. ยังได้จำหน่ายยาสำหรับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในชื่อ Proscar ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับ Propecia ผลิตภัณฑ์นี้มียาฟินาสเตอไรด์ 5 มิลลิกรัม ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงอาจสั่งจ่าย Proscar ให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาผมร่วง โดยให้รับประทานยานี้ 1/4 เม็ด

  1. Trend, Actavis, TopFond และ Finpecia

       บริษัท Merck & Co. ถือสิทธิบัตรยาเม็ดฟินาสเตอไรด์ จนถึงเดือนตุลาคม 2014 สิทธิบัตรหมดอายุในปีเดียวกันนั้นและทำให้บริษัทอื่น ๆ สามารถผลิตยาฟินาสเตอไรด์ได้ ในปัจจุบัน มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาเม็ดฟินาสเตอไรด์ ภายใต้แบรนด์ Trent, Actavis, TopFond และ Finpecia แม้ว่าจะมีสารออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน แต่มีราคาที่ถูกกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับ Propecia และ Proscare

  1. Dutasteride

       Dutasteride เป็นสารยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่สามารถยับยั้งการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับโรคผมร่วงจากพันธุกรรม สารนี้ให้ผลที่คล้ายกันอย่างมากกับฟินาสเตอไรด์ และแต่เดิมได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรักษาอาการต่อมลูกหมากโต แม้ว่า dutasteride อาจจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วง แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มากพอ วิธีใช้: รับประทานวันละครั้ง  

  1. Pantostin

       Pantosin เป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัท Merz ซึ่งมี Alfatradiol เป็นสารประกอบออกฤทธิ์ และสามารถใช้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง Alfatradiol มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ finasteride โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT)   แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ Pantostin หรือ Alfatradiol และยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่มากพอเช่นกัน วิธีใช้: ทาผลิตภัณฑ์ลงในบริเวณที่ต้องการ วันละครั้ง  

  1. Ell-Cranell

       Ell-Cranell มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ Alfatradiol วิธีใช้: ทาลงบนหนังศีรษะ เช่นเดียวกับ Pantostin   

  1. Priorin

       Priorin ผลิตโดยบริษัท Bayer ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของแร่ธาตุและวิตามิน แอล-ซีสเตอีน (L-cysteine) สารสกัดจากข้าวฟ่าง น้ำมันรำข้าวสาลี และกรดแพนโทธีนิก (Panthtothenic Acid) ใช้เพื่อช่วยรักษาอาการผมร่วงที่เกิดจากการขาดสารอาหารหรือวิตามิน แต่ไม่เหมาะสำหรับโรคผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม วิธีใช้: รับประทานในตอนเช้าและตอนเย็น 

 

  1. Pantovigar

       Pantovigar มีส่วนผสมเหมือนกับ Priorin แต่ผลิตโดยบริษัท Merz และยังมีส่วนผสมของยีสต์และเคราติน เป็นผลิตภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้เพื่อปรับปรุงปัญหาผมร่วงที่เกิดจากการขาดสารอาหารหรือวิตามิน เช่นเดียวกับ Priorin และยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรม  

สรุป: ยา

       ฟินาสเตอไรด์และไมน็อกซิดิลเป็นหนึ่งในยาที่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วง   ซึ่งในกรณีส่วนใหญ่ ยาเหล่านี้สามารถหยุดการลุกลามของโรคผมร่วงจากพันุกรรมได้ และยังมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการงอกของเส้นผมในผู้ป่วยบางราย   แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงบางประการ และจะได้ผลกับผมที่มีอยู่เท่านั้น ไม่สามารถทำให้ผมงอกขึ้นใหม่ในบริเวณที่เถิกล้าน

การรักษาโดยไม่อาศัยการผ่าตัด

  1. ภูมิคุ้มกันบำบัดเฉพาะที่

       ภูมิคุ้มกันบำบัดเฉพาะที่เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม หรือโรคผมร่วงเป็นวงกลม (Alopecia Areata) โดยในระหว่างการรักษา จะมีการเพิ่มความไวของภูมิคุ้มกันของสารก่อภูมิแพ้ (เช่น ไดฟีนิลไซโพรน (DPC)) ในบริเวณที่เป็นปัญหา เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้เพื่อกระตุ้นการงอกของผม วิธีการนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ และมีอัตราความสำเร็จประมาณ 50% อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับโรคผมร่วงจากพันธุกรรม

  1. เมโสเทอราพี

       เมโสเทอราพีเป็นการฉีดสารละลายวิตามินความเข้มข้นสูงลงในบริเวณที่เถิกล้าน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับรากผม และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด   เมโสเทอราพีเป็นวิธีการรักษาโรคผมร่วงที่ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง เป็นการผสมผสานระหว่างยา ธรรมชาติบำบัด และการฝังเข็มแบบเอเชีย แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนพอ และยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าวิธีนี้มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่  

  1. การรักษาด้วยพลาสมาความเข้มข้นสูง (PRP)

       PRP ย่อมาจาก “พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดสูง” ในการรักษาโรคผมร่วงด้วยวิธี PRP จะนำเลือดของผู้ป่วยมาผ่านกระบวนการ เพื่อแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงออกจากพลาสมา จากนั้นจึงฉีดพลาสมาเข้มข้น (PRP) ที่ได้เข้าที่รากผมโดยตรง PRP จะกระตุ้นรากผมและส่งเสริมการฟื้นฟูเซลล์รากผม ซึ่งจากการศึกษาในอิตาลี ในปี 2014 โดยมหาวิทยาลัยปาดัว ยืนยันว่า PRP มีผลในทางบวกต่อโรคผมร่วง การรักษาโรคผมร่วงด้วยวิธี PRP

  1. การรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มต่ำ

       เลเซอร์สมัยใหม่ไม่เพียงแต่ถูกนำมาใช้เพื่อกำจัดรอยสักหรือรอยปาน แต่ยังสามารถใช้ในการรักษาโรคผมร่วงได้อีกด้วย โดยพบว่าการฉายเลเซอร์ความเข้มต่ำบนหนังศีรษะในช่วงคลื่นอินฟราเรด เป็นเวลาประมาณ 15 นาที สามารถช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ที่ชัดเจนมากพอ การรักษาอาจใช้เวลามากกว่า 1 ปี และจะต้องทำการรักษาเดือนละ 2 ครั้ง      

  1. การสักหนังศีรษะ (MHP)

       ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การสักหนังศีรษะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก วิธีการนี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม แต่เป็นการสักหมึกลงบนหนังศีรษะ เพื่อให้ดูเหมือนว่าผมหนาขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และมีราคาถูกกว่าการปลูกผม แน่นอนว่าการสักหนังศีรษะก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผมสีเข้ม และหมึกอาจซีดจางหลังจากผ่านไป 2-3 ปี  

  1. Dermaroller

       เชื่อกันว่าลูกกลิ้ง Dermaroller จะช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม เมื่อกลิ้งไปตามหนังศีรษะเนื่องจากอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และมีรายงานว่าการใช้ Dermaroller ร่วมกับยาไมน็อกซิดิลจะให้ผลดีมากกว่าการใช้ไมน็อกซิดิลเพียงอย่างเดียว  

สรุป: การรักษาโดยไม่อาศัยการผ่าตัด

       การรักษาผมร่วงหลายเหล่านี้วิธียังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ในแง่ของประสิทธิภาพและผลข้างเคียง   ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านผมร่วงจำนวนมากหวังว่าการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์จะนำไปสู่ความก้าวหน้าในยารักษาโรคผมร่วง แต่การรักษายังไม่ค่อยแพร่หลายมากนัก

วิธีการรักษาผมร่วงจากงานวิจัย (ยังไม่ได้รับการรับรองจาก FDA)

  1. สารยับยั้ง JAK, JAK inhibitor Olumiant (baricitinib)

       ศาสตราจารย์ แองเจลา คริสเตียโน นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้จุดประกายความสนใจในสารยับยั้ง JAKซึ่งเป็นเอนไซม์การอักเสบในโรคภูมิคุ้มกันไวเกินประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถนำมารักษาโรค Alopecia Areata ได้ ในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรม และพบว่ามีผลในทางบวกในการหยุดการลุกลามของโรคผมร่วง   และในปัจจุบัน บริษัทยาจำนวนมากต่างกำลังศึกษาวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลของสารยับยั้งโดยการทดลองทางคลินิก แต่ยังต้องทำการศึกษาวิจัยอีกหลายปีก่อนที่องค์การอาหารและยาจะรับรองวิธีการรักษาดังกล่าว

  1. สเต็มเซลล์และการพิมพ์สามมิติ

       เชื่อกันว่าการปลูกผมโดยใช้สเต็มเซลล์ร่วมกับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติจะเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการปลูกผม เพราะหนึ่งในปัญหาสำคัญในการปลูกผมแบบย้ายรากในปัจจุบันก็คือผมที่ใช้จะต้องมาจากบริเวณ Donor Area บนศีรษะของผู้ป่วยเอง จึงทำให้ปริมาณผมที่สามารถใช้ได้มีอยู่จำกัด และทำให้ผมบริเวณ Donor Area บางลง   การรักษาด้วยสเต็มเซลล์อาจสามารถสร้างเส้นผมขึ้นได้ โดยใช้เทคนิคการพิมพ์สามมิติเพื่อจำลองรากผม แต่ก็ยังมีปัญหาในการทำให้สเต็มเซลล์เจริญเติบโตให้มีสีหรือผิวสัมผัสที่เหมือนกับผมจริงของผู้ป่วย

  1. วิศวกรรมเนื้อเยื่อรากผม (การโคลนนิ่งรากผม)

       นักวิทยาศาสตร์และแพทย์จำนวนมากหวังว่าในปีไม่กี่ปีข้างหน้า งานวิจัยด้านวิศวกรรมไบโอเมตริกส์จะทำให้สามารถปลูกรากผมได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ของมนุษย์   โดยเซลล์จะทำหน้าที่เป็นโครงร่างสำหรับรากผมใหม่เพื่อจำลองลักษณะตามธรรมชาติของผมเดิม ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในผู้ป่วยที่มีเส้นผมไม่เพียงพอสำหรับการปลูกผม

 

การรักษาโดยการผ่าตัดปลูกผมย้ายราก

  1. การปลูกผม

       ในระหว่างปี 2014 – 2016 จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกผมในยูโรปเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จาก 45,000 ราย เป็นเกือบ 80,000 ราย   โดยหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็คือ ค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เนื่องจากมีข้อเสนอจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกผมราคาถูกในตุรกี)   ซึ่งจากการศึกษาล่าสุด เราพบว่าผู้ใช้บริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่เต็มใจที่จะเดินทางไปเข้ารับบริการปลูกผมในต่างประเทศ การปลูกผมจึงได้ปรับลดราคาลงทำให้คนทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ในการปลูกผมจะมีการเจาะเก็บผมของผู้ป่วยจากบริเวณ Donor Area และนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ (Recipeint Area   ผมที่ปลูกจึงยังคงมีความต้านทานต่อ DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดผมร่วงจากพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia) ผมจึงไม่หลุดร่วง ดังนั้น การปลูกผมจึงเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์อย่างถาวร โดยวิธีการปลูกผมที่ใช้กันมากที่สุดคือ FUT และ FUE

การปลูกผมมักเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว เนื่องจากให้ผลลัพธ์ที่ถาวร ผลิตภัณฑ์รักษาโรคผมร่วงจำนวนมาก จะให้ผลลัพธ์ที่ดีก็ต่อเมื่อมีการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการปลูกผมมากเมื่อเวลาผ่านไป

สรุป

มียาและผลิตภัณฑ์มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อโรคผมร่วง แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษา

ยาไมน็อกซิดิลและฟินาสเตอไรด์เป็นยาเพียงไม่กี่ชนิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการหยุดการลุกลามของโรคผมร่วง และสามารถกระตุ้นการงอกของผม   แต่อย่างไรก็ตาม ยาไมน็อกซิดิลและฟินาสเตอไรด์ก็มีผลข้างเคียงที่ไม่อาจละเลยได้ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือความบกพร่องทางเพศ นอกจากนี้ ยาเหล่านี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีก็ต่อเมื่อมีการใช้อย่างสม่ำเสมอเท่านั้น และอาจมีค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว

ด้วยเหตุนี้ การปลูกผมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เป็นโรคผมร่วงจากพันธุกรรม และเป็นวิธีเดียวที่ให้ผลลัพธ์อย่างถาวรและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาไมน็อกซิดิลและฟินาสเตอไรด์

คำถามที่พบบ่อย

วิธีการที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการรักษาโรคผมร่วง?

ยารักษาผมร่วงจำนวนมากอ้างว่าเป็น “การรักษามหัศจรรย์” แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ได้รับการยอมรับจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงได้จริง เช่น ยาฟินาสเตอไรด์และไมน็อกซิดิล รวมถึงการปลูกผม

มีวิธีใดที่สามารถทำให้ผมงอกใหม่ได้จริง?

ไม่มี ผมจะไม่สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ในบริเวณที่ไม่มีรากผมอยู่เลย วิธีการเดียวก็คือการนำผมจากบริเวณอื่นของร่างกายหรือศีรษะมาปลูกลงในบริเวณที่ล้าน-เถิก อย่างไรก็ตาม ยาฟินาสเตอไรด์และไมน็อกซิดิลสามารถกระตุ้นการงอกและเพิ่มความหนาแน่นในบริเวณที่มีปัญหาผมบางได้

วิธีใดช่วยในการแก้ปัญหาผมร่วงในผู้หญิง?

ยาไมน็อกซิดิลและการปลูกผมเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับโรคผมร่วงในผู้หญิง โดยให้ทายาไมน็อกซิดิลในบริเวณที่ต้องการในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนยาฟินาสเตอไรด์นั้นไม่ได้ผลในโรคผมร่วงในผู้หญิง

Dr. Suthida Arayametee

พญ. สุธิดา อารยเมธี

– แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Doctor of Medicine, Chiang Mai University)

– Grad.Dip.Clin.Sci.(Radiology), Chiang Mai University

– Diploma in Practical Dermatology, Cardiff University, UK

  • Certificate of completion: Fundamental of Platelet Rich Plasma (PRP) Therapy Training Course
  • Certificate of attendance: Implanter Workshop for Hair Transplantation, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
  • Certificate of Completion: Medical Weight Management Specialist, School of Antiaging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University
  • Certificate of attendance RELIFE Master Network Module 3 Advance Workshop for Thread Lifting (Definisse Free Floating)
  • Certificate of attendance Mid-Face Correction & Enhancement using thread, botulinum toxin, filler Workshop by No 1 Trainer
  • Certificate of attendance: RELIFE Master Network Module 2 Advance Workshop for thread Lifting (Definisse Double thread technique with 23-cm-thread)
  • Certificate of attendance: 9th ITCAM Hands-on Cadaveric Dissection of Toxin and Filler Injections and Thread Lift

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า