โรคผมร่วงจากพันธุกรรมฮอร์โมนในผู้ชาย

โรคผมร่วงจากพันธุกรรมฮอร์โมนในผู้ชาย (Androgenetic Alopecia) เกิดจากภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรคผมร่วงในผู้ชาย เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของศีรษะล้าน และส่งผลกระทบต่อผู้ชายเกือบ 50% เมื่ออายุ 50 ปี แม้ว่าอาการของโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชายจะพบได้มากในชายวัยกลางคนจนถึงชายสูงวัย แต่ปัญหาผมร่วงอาจเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 20 ปี โดยคนไข้อาจสังเกตเห็นสัญญาณได้แต่เนิ่นๆ และการเริ่มรักษาให้เร็วที่สุด จะทำให้ผลลัพธ์การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

อาการของโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย

โรคผมร่วงจากพันธุกรรมอาจใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในผู้ป่วยจำนวนมาก อาการจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมักเริ่มจากการถอยร่นที่บริเวณมุมของแนวไรผม ทำให้มีลักษณะคล้ายผมหน้าม้า แต่ในผู้ชายบางคนแนวไรผมทั้งหมดอาจเกิดการถอยร่นอย่างเท่าๆ กัน ซึ่งจะพบได้น้อยกว่าแบบแรก

สาเหตุของโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) โดยเอนไซม์ 5α-reductase และการมีฮอร์โมน DHT ในระดับที่สูงนั้นมีความสัมพันธ์กับโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย โดย DHT จะยึดจับกับรากผมและทำให้ผมเริ่มอ่อนแอและหดตัวลง และยังชะลอการงอกของเส้นผมจากรากผม และค่อยๆ หยุดงอกในที่สุด

DHT เป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่เป็นสาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผม โดยความไวต่อฮอร์โมน DHT ในผู้ชาย จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และยิ่งรากผมไวต่อฮอร์โมนมากเท่าใด ก็จะมีแนวโน้มที่จะหลุดร่วง และรุนแรงมากขึ้น

แต่เป็นที่น่าเสียดาย แม้ว่า DHT จะทำให้ผมด้านบนศีรษะอ่อนแอและหลุดร่วง แต่กลับส่งผลในทางตรงกันข้ามกับเส้นผมที่อยู่ต่ำกว่าคิ้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายที่มีศีรษะล้านยังคงมีหนวดเคราและขนตามร่างกายอยู่เป็นจำนวนมาก

สเกลนอร์วูด-แฮมิลตันสำหรับรูปแบบของผมร่วง

รูปแบบของผมร่วงในโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชายสามารถวัดได้โดยใช้สเกลนอร์วูด-แฮมิลตัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ระดับ ก่อนการปลูกผม แพทย์จะทำการระบุระดับความรุนแรงของปัญหาผมร่วงโดยใช้สเกลนี้ จากนั้นจึงนำไปใช้ในการกำหนดจำนวนกราฟต์ผมที่ต้องใช้ในการปลูกผม และช่วยในการวางแผนการปลูกผม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการทำนายการลุกลามของผมร่วงได้อีกด้วย

ไม่มีเกณฑ์ตายตัวว่าคนไข้ควรตัดสินใจเข้ารับการรักษาเมื่อมีสเกลนอร์วูดอยู่ในระยะใด โดยคนไข้ควรรักษาปัญหาผมร่วงให้เร็วที่สุดเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของการถอยร่นของแนวไรผมหรือผมบาง โดยยิ่งป้องกันเร็วเท่าใด วิธีที่ใช้ก็จะมีประสิทธิภาพในการหยุดผมร่วงมากเท่านั้น และจะสามารถรักษาผมธรรมชาติเอาไว้ได้หากเริ่มใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งมีอาการผมร่วงรุนแรง ก็จะยิ่งรักษาได้ยาก

วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย

หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชายก็คือการใช้ยาฟินาสเตอไรด์ ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้เพื่อรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต แต่ในปัจจุบันยานี้ถูกนำมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงด้วยเช่นกัน โดยรับประทานยาฟินาสเตอไรด์ 1 มิลลิกรัม วันละครั้ง เพื่อป้องกันผมร่วง โดยกลไกของยาฟินาสเตอไรด์ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ซึ่งจะขัดขวางการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนไปเป็น DHT แต่หากผมร่วงอยู่ในระยะรุนแรงแล้ว (สเกลนอร์วูด 5-7) การรับประทานยาฟินาสเตอไรด์จะไม่ได้ผลนัก เนื่องจากยานี้จะมีผลในการหยุดผมร่วงเป็นหลัก จากผลการศึกษาหลายชิ้นพบว่ายาฟินาสเตอไรก์สามารถหยุดผมร่วงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณกระหม่อม อย่างไรก็ตาม ในยานี้อาจสามารถป้องกันการลุกลามของหัวเถิกหรือการถอยร่อนของแนวไรผมได้ในผู้ป่วยบางราย

อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชายก็คือ ยาไมน็อกซิดิล ซึ่งไมน็อกซิดิลเป็นยาลดความดัน ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง และในภายหลังพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาผมร่วงด้วย สำหรับการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้ชาย ให้ทาไมน็อกซิดิลลงบนหนังศีรษะ วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ซึ่งจะช่วยขยายหลอดเลือดใต้หนังศีรษะ และเพิ่มเลือดและสารอาหารให้กับเส้นผม โดยแนะนำให้เริ่มใช้ยาให้เร็วที่สุดเพื่อสังเกตเห็นอาการผมบาง โดยยานี้จะสามารถช่วยให้อาการผมร่วงดีขึ้นได้หลังใช้อย่างต่อเนื่อง และสามารถกระตุ้นการงอกของเส้นผมและเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมในผู้ป่วยบางราย

แต่น่าเสียดายที่ไม่มีวิธีใดที่สามารถทำให้ผมที่หลุดร่วงงอกขึ้นใหม่ และวิธีเดียวที่สามารถทำได้ก็คือการปลูกผม

ในการปลูกผม ผมของคนไข้จะถูกสกัดเก็บออกจากบริเวณ Donor Area และนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งผมเหล่านี้จะมีความต้านทานต่อ DHT จึงไม่เกิดการหลุดร่วง และให้ผลลัพธ์ที่ถาวร

แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมจะถูกลงมาก แต่ค่าผ่าตัดก็ยังค่อนข้างสูง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจได้ อย่างไรก็ตาม การปลูกผมยังคงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในระยะยาว เนื่องจากให้ผลลัพธ์ที่ถาวร นอกจากนี้ ยารักษาผมร่วงจำนวนมากจะให้ผลก็ต่อเมื่อใช้งานอย่างต่อเนื่องเท่านั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงกว่าการปลูกผม

วิธีการซ่อนปัญหาผมร่วง

บางคนเลือกที่จะปกปิดปัญหาผมร่วงของตนโดยใช้วิก ผมปลอม การต่อผม หรือการหวีผม โดยคนดังที่ใช้วิธีการจัดแต่งทรงผมโดยการหวี เพื่อปกปิดปัญหาผมร่วง ได้แก่ โดนัลด์ ทรัมป์ และ นิโคลัส เคจ แต่วิธีการเหล่านี้ได้ผลดีในช่วงเวลาสั้นๆ และเมื่อผมร่วงเพิ่มขึ้นวิธีการเหล่านี้ก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลง  

วิธีการที่ให้ผลถาวรมากกว่าในการปกปิดผมร่วงก็คือการสักหนังศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ วิธีการนี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม แต่เป็นการสักหมึกลงบนหนังศีรษะ เพื่อให้ดูเหมือนว่าผมหนาขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อดีหลายประการ เช่น ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการปลูกผม แน่นอนว่า การสักหนังศีรษะก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผมสีเข้ม และหมึกอาจซีดจากหลังจากผ่านไป 2-3 ปี อีกทางเลือกหนึ่งคือการยอมรับปัญหาผมร่วง ซึ่งมักทำได้โดยการโกนศีรษะ วิธีนี้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชายมากกว่า เนื่องจากผมมักถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิง คนดังที่โกนศีรษะเพื่อรับมือกับปัญหาผมร่วง ได้แก่ ไมเคิล จอร์แดน ดเวย์น จอห์นสัน และ เบน คิงสลีย์

Dr. Suthida Arayametee

พญ. สุธิดา อารยเมธี

– แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Doctor of Medicine, Chiang Mai University)

– Grad.Dip.Clin.Sci.(Radiology), Chiang Mai University

– Diploma in Practical Dermatology, Cardiff University, UK

  • Certificate of completion: Fundamental of Platelet Rich Plasma (PRP) Therapy Training Course
  • Certificate of attendance: Implanter Workshop for Hair Transplantation, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
  • Certificate of Completion: Medical Weight Management Specialist, School of Antiaging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University
  • Certificate of attendance RELIFE Master Network Module 3 Advance Workshop for Thread Lifting (Definisse Free Floating)
  • Certificate of attendance Mid-Face Correction & Enhancement using thread, botulinum toxin, filler Workshop by No 1 Trainer
  • Certificate of attendance: RELIFE Master Network Module 2 Advance Workshop for thread Lifting (Definisse Double thread technique with 23-cm-thread)
  • Certificate of attendance: 9th ITCAM Hands-on Cadaveric Dissection of Toxin and Filler Injections and Thread Lift

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า