การปลูกผมด้วยวิธี FUE

FUE เป็นการปลูกผมวิธีหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นที่นิยมเพราะผลลัพธ์ที่ดี และการพักฟื้นและดูแลหลังการปลูกไม่ยุ่งยากนั้นเอง โดยผู้ป่วยจำนวนมากเชื่อว่าการปลูกผมด้วยวิธีนี้จะสามารถให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติและเกิดแผลเป็นน้อยมาก ซึ่งจะช่วยปิดบังม่ให้ผู้อื่นสังเกตเห็นว่าเคยผ่านการปลูกผม โดยในส่วนต่อไป เราจะกล่าวถึงความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการปลูกผม

FUE คืออะไร?

การปลูกผมถาวรแบบย้ายเซลล์รากผม (FUE) เป็นวิธีการปลูกผมแบบแผลเล็กเพราะมีการเจาะเซลล์รากผมออกมาทีละกอที่เรียกว่ากราฟต์ผมนั้นเอง เป็นวิธีที่คลินิกและศัลยแพทย์ทั่วโลกนิยมใช้เพื่อฟื้นฟูและแก้ปัญหาผมบางศีรษะล้าน โดยจะเจาะเอารากผมจากบริเวณ Donor Area ซึ่งมักเป็นบริเวณด้านหลังศีรษะของผู้ป่วย หรือเส้นขนจากส่วนอื่นของร่างกาย จากนั้นจึงนำเอากราฟต์ผมเหล่านั้นปลูกลงในบริเวณที่เป็นปัญหาเถิกล้านหรือผมบาง(Recipient Area)

ที่มาของการปลูกผมแบบ FUE

แม้ว่าการปลูกผมจะมีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกในช่วงปีพ.ศ. 2443 แต่เทคนิค FUE สมัยใหม่เพิ่งจะได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2533 โดยในช่วงแรก ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ค่อยเป็นธรรมชาตินัก (“Hair Plug”) และยังไม่ค่อยแพร่หลายในอเมริกาเหนือ จนกระทั่งปี 2545 ตั้งแต่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก วิธีการนี้ก็ได้รับการพัฒนารวดเร็ว และเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยศัลยแพทย์ปลูกผมในปัจจุบัน

FUE ได้รับการพัฒนามาจากวิธีการปลูกผมถาวรด้วยกอรากผมแบบผ่าตัด (FUT) เพื่อลดการเกิดแผลเป็น และให้การปลูกผมที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และยังสามารถลดภาวะช็อกหรือรากผมกระทบกระเทือนลงได้ จึงมีอัตรารอดของเซลล์รากผมเพิ่มขึ้น

เพราะเหตุใดการปลูกผมด้วยวิธี FUE จึงให้ผลลัพธ์ที่ดี

ปัญหาผมร่วงผมบางในผู้ชายส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุพันธุกรรมและฮอร์โมนเป็นหลัก โดยผู้ชายเกือบ 80% จะได้รับผลกระทบจากปัญหาผมร่วงประเภทนี้ตั้งแต่อายุย่างเข้าสู้วัยรุ่น ซึ่งเกิดจากภาวะไวเกินต่อฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ที่ทำให้ผมร่วง โดยฮอร์โมนนี้จะจับกับรากผมและทำให้รากผมอ่อนแอลง

โดยการปลูกผมด้วยวิธี FUE เป็นการเจาะเอารากผมออกจากบริเวณที่มีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT เพื่อนำไปลูกในบริเวณที่เถิกล้านที่ด้านบนศีรษะ เช่น บริเวณแนวไรผมที่ถอยร่น หรือบริเวณกระหม่อม เมื่อนำไปปลูกแล้ว รากผมเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปในบริเวณที่เคยเถิกล้านได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยโดยไม่เกิดผลกระทบไดๆจาก ฮอร์โมน DHT เลย

จากการศึกษาต้นทุนค่าใช้จ่ายในการปลูกผม เราพบว่า การปลูกผมด้วยวิธี FUE มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธี FUT เล็กน้อย เนื่องจากใช้เวลานานกว่ามาก ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ เช่น ไทย หรือ อินเดีย

ขั้นตอนการปลูกผมด้วยวิธี FUE

FUE เป็นวิธีการปลูกผมที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน และใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูง และในบางกรณี อาจต้องใช้เวลาหลายวันหากต้องใช้กราฟต์ผมจำนวนมาก โดยขั้นตอนมีดังนี้

  • โกนศีรษะของผู้ป่วย เพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถนำกราฟต์ผมได้โดยง่าย โดยกอรากผมเหล่านี้จะประกอบด้วยรากผม 1-4 ราก
  • ใช้เข็มที่เล็กและกลวงในการเจาะสกัดเอากอรากผมเหล่านี้ โดยการขยับเข็มเป็นวงกลมเพื่อให้เกิดแผลขนาดเล็ก
  • จากนั้น ดึงกราฟต์ผมออกจากศีรษะโดยใช้ปากคีบ(forceps)ขนาดเล็ก ใส่ในน้ำยาปลอดเชื้อ แล้วเก็บรักษาไว้จนกว่าจะนำไปปลูกผม
  • ศัลยแพทย์จะเจาะรูเพื่อเป็นช่องในการฝังรากผมในบริเวณที่เถิกล้าน ซึ่งเรียกว่า Recipient Channel เพื่อใช้ในการปักกราฟต์ผมลงไปในรูนั้นๆ
  • จากนั้น ศัลยแพทย์จะใช้ปากคีบ(forceps)ชนิดพิเศษ ที่เอียงทำมุมเฉพาะสอดคล้องกับแนวไรผม เพื่อปักกราฟต์ผมลงในช่องดังกล่าว

       จากการศึกษาการปลูกผมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า การปลูกผมด้วยวิธี FUE เครื่องมือที่ใช้เจาะกราฟต์ผมที่ใช้กันมากที่สุดคือ FUE แบบมือถือและแบบใช้มอเตอร์ช่วย

การปลูกผมด้วยวิธี FUE และ FUT

การปลูกผมด้วยวิธี FUE และ FUT ประกอบด้วยการเจาะสกัด การเก็บรักษา และการปักหรือปลูกรากผม ทั้งสองวิธีนี้มีขั้นตอนการเก็บรักษาและการปักหรือปลูกรากผมที่เหมือนกัน แต่เทคนิคการเจาะเก็บรากผมนั้นแตกต่างกันมาก

ในการปลูกผมด้วยวิธี FUE จะมีการเจาะสกัดเก็บกอรากผม ในขณะที่วิธี FUT จะใช้การผ่าตัดเก็บแถบผิวหนังจากบริเวณ Donor Area จากนั้นจึงนำไปตัดแยกเป็นกอ เพื่อนำไปปักลงในช่องที่เจาะไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดแผลเป็นขนาดเล็กและยาวที่ด้านหลังศีรษะ แม้ว่าแผลจะไม่ใหญ่ แต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้หากตัดผมแบบโกนสั้น วิธีการนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปลูกผมแล้วจะไว้ผมสั้น เพราะจะทำให้เห็นรอยแผลเป็นได้ และ FUE เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการปลูกหนวดเคราและคิ้ว อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การปลูกผมด้วยวิธี FUT นั้นจะสามารถปลูกกราฟต์ผมจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องโกนผม ซึ่งต่างจากวิธี FUE

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี ข้อเสีย
FUE เป็นวิธีการปลูกผมแบบแผลเล็ก โดยจะเกิดแผลเป็นรูปวงกลมขนาดเล็กมากหลังจากที่แผลหายดีแล้ว
เนื่องจากรากผมถูกนำออกจากศีรษะทีละราก การปลูกผมด้วยวิธี FUE จึงใช้เวลามากกว่า และอาจต้องทำการปลูกผมหลายครั้งเพื่อให้ได้จำนวนกราฟต์ที่ต้องการ
กอรากผมจะให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมาก ในทางตรงกันข้ามกับการใช้กราฟต์ผมขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยรากผมมากกว่า 4 ราก
การปลูกผมด้วยวิธี FUE จะได้จำนวนกราฟต์ผมที่น้อยกว่าวิธี FUT มาก
วิธี FUE ช่วยลด Shock Loss ของผมที่ปลูก จึงเพิ่มอัตรารอดของรากผม
FUE ผู้ป่วยต้องโกนผมทั้งศีรษะแต่ FUT ไม่ต้องโกนผม จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย
วิธี FUE ทำให้สามารถเจาะสกัดกราฟต์ได้ในจำนวนที่แม่นยำ แต่ในวิธี FUT อาจมีการสกัดกราฟต์ผมออกจาก donor area มากเกินความจำเป็น
การปลูกผมด้วยวิธี FUE มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธี FUT เนื่องจากต้องใช้แรงงานและใช้เวลามากกว่า

การปลูกผมเหมาะกับใคร

การปลูกผมเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้านจากพันุกรรมเป็นบริเวณกว้าง หรือปัญหาผมร่วงในผู้ชาย ศัลยแพทย์จำเป็นต้องสามารถระบุระดับความรุนแรงของปัญหาผมร่วง รวมทั้งบริเวณที่มีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHTเพื่อที่จะสามารถเจาะสกัดเอากราฟต์ผมบริเวณเหล่านั้นออกมาได้

เส้นผมบางประเภท เช่น ผมหยิก ผมหยักศก หรือผมที่ดกหนา จะให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเส้นผมที่บางและตรง เนื่องจากผมหยิกหรือหยักศก จะทำให้ดูฟูหนามากกว่าผมบางและตรง นอกจากนี้ การปลูกผมในผู้ที่มีผมสีเข้มที่ตัดกับสีผิวจะทำได้ง่ายกว่าในผู้ที่มีสีผมใกล้เคียงกับสีผิว

FUE เป็นวิธีการปลูกผมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องใช้กราฟต์ผมจำนวนมาก และชอบไว้ผมสั้น ดังนั้น วิธี FUE จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงที่มีสนอร์วูดสเกล 1-4 และจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุมาก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี FUT เนื่องจากเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และผู้ป่วยที่อายุมากจะฟื้นตัวจากการปลูกผมได้ยากกว่า

FUT เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้กราฟต์ผมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริเวณ donor area มีผมอยู่น้อย เนื่องจากจะไม่ทำให้ผมบริเวณ Donor Area ดูบางลงมากนัก ต่างจากวิธี FUE

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ: การปลูกผมถือเป็นหัตถการผ่าตัดประเภทหนึ่งจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต่ำ เนื่องจากแผลเล็กและที่หนังศีรษะยังมีการไหลเวียนของเลือดสูง
  • ภาวะเลือดออก: อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังการปลูกผม เนื่องจากมีการเจาะเปิดหนังศีรษะในหลายบริเวณ ซึ่งจะทำให้เลือดออก แต่ก็สามารถรักษาได้โดยง่ายโดยการกดด้วยผ้าก็อซ
  • อาการปวดที่แผลเป็น: หลังการปลูกผม ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดเป็นครั้งคราวที่บริเวณแผลเป็นที่เกิดจากขั้นตอนการเจาะสกัดและการปักกราฟต์
  • อาการบวม: อีกหนึ่งผลข้างเคียงที่อาจพบได้ก็คือ อาการบวมที่ศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบ ๆ บริเวณหน้าผากและดวงตา ซึ่งอาการบวมนี้จะหายไปภายในไม่กี่วัน
  • การเกิดสะเก็ดแผล: อาจเกิดสะเก็ดแผลขนาดเล็กในบริเวณที่ทำการรักษา ซึ่งจะหลุดร่อนออกหลังผ่านไป 2 สัปดาห์เป็นอย่างช้า
  • อาการคัน ตึง และชา: ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงและชาชั่วขณะ ทันทีหลังการผ่าตัด
  • การหลุดร่วงของเส้นผม: ในระหว่างการเก็บรากผม รากผมจะไม่มีเลือดหล่อเลี้ยง ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงหลังการปลูกกราฟต์ผม แต่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้น 1-6 สัปดาห์เท่านั้น และหลังจากนั้นผมจะงอกขึ้นจากรากผมอีกครั้ง
  • Shock loss: ผู้ป่วยบางรายมีภาวะผมร่วงในบริเวณที่อยู่ใกล้กับกราฟต์ผมที่ปลูก เนื่องจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ซึ่งเรียกว่า Shock Loss แต่อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น

การพัฒนาวิธี FUE เพิ่มเติม

ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของวิธี FUE จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่วิธีการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของวิธีนี้ ดังนั้น การพัฒนาทางเทคโนโลยีเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมปลูกผม

การพัฒนาวิธี FUE ที่สำคัญ ก็คือ วิธี Direct Hair Implementation (DHI) ซึ่งใช้ Implanter Pen แบบพิเศษในการปลูกรากผม จากนั้นจึงนำไปปลูกลงในหนังศีรษะโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องเจาะรูบนหนังศีรษะ ตามชื่อเรียก เทคนิคนี้มีอัตราการรอดสูงมาก เนื่องจากกราฟต์ผมถูกนำออกจากหนังศีรษะและเลือดที่หล่อเลี้ยงในระยะเวลาที่สั้นมาก

วิธี ARTAS เป็นอีกหนึ่งการพัฒนาวิธี FUE สำหรับการปลูกผม วิธีนี้ใช้หุ่นยนต์ ARTAS เพื่อสกัดเก็บและปลูกกราฟต์ผม ซึ่งเป็นความพยายามในการลดข้อผิดพลาดจากกระบวนการปลูกผม แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยส่วนน้อย เพราะไม่สามารถใช้กับผู้ที่มีผมหยิกหรือผมสีอ่อน เนื่องจากเครื่องจะไม่สามารถตรวจหารากผมได้   เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้นั้นมีราคาแพง จึงไม่ค่อยมีการนำไปใช้ในคลินิกปลูกผม

NeoGraft เป็นวิธีการปลูกผมแบบกึ่งอัตโนมัติ ที่พัฒนามาจากวิธี FUE และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอเมริกาเหนือ ในวิธีนี้จะใช้เครื่องมือชนิดพิเศษ ที่มีลักษณะคล้ายไม้กายสิทธิ์ เพื่อเจาะสกัดกราฟต์ผมโดยใช้แรงดูด แทนที่ศัลยแพทย์จะสกัดกราฟต์ด้วยตนเอง จึงสามารถลดเวลาในการเจาะสกัดกราฟต์และการบาดเจ็บของหนังศีรษะ ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการรอดของกราฟต์ผม

คำถามที่พบบ่อย

การปลูกผมด้วยวิธี FUE ให้ผลลัพธ์ที่ถาวรหรือไม่?

เมื่อทำการปลูกผมด้วยวิธี FUE อย่างถูกต้อง จะได้ผลลัพธ์ที่ถาวร เนื่องจากกราฟต์ผมถูกนำมาจากบริเวณที่มีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT ที่ทำให้เกิดผมร่วง จึงไม่เกิดการหลุดร่วงในภายหลังจากผลของ DHT

การปลูกผมด้วยวิธี FUE หรือ FUT วิธีใดดีกว่ากัน?

ไม่มีวิธีใดที่ดีกว่ากัน เพราะวิธีการที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผมร่วงของผู้ป่วยแต่ละราย

ผมที่ปลูกจะบางลงหรือไม่?

กราฟต์ผมที่นำมาจากบริเวณ Donor Area นั้นมีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT ซึ่งทำให้เกิดผมร่วง ซึ่งหมายความว่าผมเจะไม่หลุดร่วง และไม่บางลงจากฮอร์โมน แต่สามารถหลุดร่วงจากสาเหตุอื่นๆได้เหมือนผมปกติ

FUE มีอัตราความสำเร็จสูงเพียงใด?

อัตราความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ของศัลยแพทย์ผู้ทำการปลูกผม ตลอดจนคุณสมบัติของผู้ป่วย   หากทำการปลูกผมอย่างถูกต้อง จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 90% ขึ้นไป

การปลูกผมด้วยวิธี FUE ต้องใช้กราฟต์ผมมากเพียงใด?

จากทะเบียนสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ ปี 2020 พบว่า จำนวนกราต์โดยเฉลี่ยที่ต้องใช้ในการปลูกผมแต่ละครั้งคือ 2,083 กราฟต์

Dr. Suthida Arayametee

พญ. สุธิดา อารยเมธี

– แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Doctor of Medicine, Chiang Mai University)

– Grad.Dip.Clin.Sci.(Radiology), Chiang Mai University

– Diploma in Practical Dermatology, Cardiff University, UK

  • Certificate of completion: Fundamental of Platelet Rich Plasma (PRP) Therapy Training Course
  • Certificate of attendance: Implanter Workshop for Hair Transplantation, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
  • Certificate of Completion: Medical Weight Management Specialist, School of Antiaging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University
  • Certificate of attendance RELIFE Master Network Module 3 Advance Workshop for Thread Lifting (Definisse Free Floating)
  • Certificate of attendance Mid-Face Correction & Enhancement using thread, botulinum toxin, filler Workshop by No 1 Trainer
  • Certificate of attendance: RELIFE Master Network Module 2 Advance Workshop for thread Lifting (Definisse Double thread technique with 23-cm-thread)
  • Certificate of attendance: 9th ITCAM Hands-on Cadaveric Dissection of Toxin and Filler Injections and Thread Lift

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า