การศึกษาการปลูกผม

ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ที่ประสบปัญหาผมบางศีรษะล้านจากสาเหตุพันธุกรรมเป็นจำนวนมาก โดยพบร้อยละ 80 ของเพศชาย และ ร้อยละ 25 ในเพศหญิง ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้คนที่ประสบปัญหาจึงได้พยายามมองหาวิธีแก้ไขที่ได้ผล และถาวร การปลูกผมย้ายรากจึงเป็นคำตอบที่ผู้คนนิยมนำมาแก้ปัญหานี้ และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต

การออกแบบการศึกษา

โดยทาง ผู้วิจัยนั้นได้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผม และข้อมูลของคนไข้จากผู้ที่ใช้บริการที่คลินิกเอง และคลินิกในเครือโดยเก็บข้อมูลโดยตรงจากคนไข้ โดยปราศจากอคติไดๆ โดยให้ตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาผมร่วงของพวกเขาและการเลือกคลินิกที่เหมาะสม

ผมร่วง

พบว่าผมคนเราปกติมีการหลุดร่วงเกิดขึ้นตั้งแต่ 50-100 เส้นต่อวัน ซึ่งจะไม่กระทบต่อความหนาของผมให้สังเกตุได้

พบว่าในช่วงอายุหนึ่งจะประสบปัญหาผมร่วงผมบางจากพันธุกรรมดังนี้ 2 ใน 3 ของผู้ชายอายุมากกว่า 35 จะประสบกับปัญหานี้

เมื่ออายุ 50 พบว่า 85% ของเพศชายกลุ่มนี้ผมบางลงอย่างชัดเจน ในเพศหญิงอายุ 65 50% จะมีปัญหาผมบาง

พบว่าผู้หญิงไม่เหมาะกับการปลูกผม เพราะผมของผู้หญิงจะบางลงทั่วๆ ทำให้ บริเวณ donor area ผมก็บางและไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหา และพบว่าผมที่ย้ายมาปลูกก็ยังหลุดล่วงอีกด้วยเพรารากผมไม่สามารถต้านทาน DHT ได้ จึงพบว่าเพศหญิงใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการปลูกผมน้อยมาก

พบว่าเพศชายจะมีการบางของผมที่ชัดเจนกว่าเพศหญิง โดยเริ่มจากการถอยร่นของแนวไรผม หลังจากนั้นเกิดไข่ดาวที่กลางศีรษะ และสุดท้ายผมก็หายไปหมดบริเวณศีรษะด้านบน

อาการของ Hair Loss

สาเหตุส่วนใหญ่ของผมบางศีรษะล้านคือฮอร์โมนหรือพันธุกรรม ซึ่งมีแบบแผนที่เฉพาะและค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็สามารถเกิดอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งสาเหตุจากพันธุกรรมนั้น มาจากทั้งฝั่งพ่อและฝั่งแม่ แต่จากฝั่งแม่จะมีผลมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้รากผมไวต่อการทำลายจาก DHT

พบร่วมกับประวัติคนในครอบครัวมีอาการเช่นเดียวกัน อาการเป็นมากขึ้นในระยะเวลามากกว่า 5 ปี จากการศึกษาพบว่า คนไข้ผมร่วงทั้งหมดมีสาเหตุของผมร่วงจากกรมพันธุ์ ถึง 70.5%

การรักษาอาการผมร่วงผมบางศีรษะล้าน

การปลูกผมพบว่าเป็นการรักษาสุดท้ายในการรักษาปัญหานี้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยยาก่อนที่จะทำการปลูกผมย้ายราก เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ควรหยุดผมร่วงก่อนการปลูกผม และการปลูกผมควรใช้ Doner Area ที่รากผมมีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT ไม่เช่นนั้นการปลูกผมก็จะได้ผลไม่ดีเพราะผมที่ปลูกก็จะหลุดล่วงไป

ผู้ป่วยเพศชายที่ประสบปัญหาผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรม ควรได้รับการรักษาด้วยยา Finasteride เพื่อลดการเปลี่ยนฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมน DHT เพราะ ฮอร์โมนDHT เป็นสาเหตุทำให้รากผมอ่อนแอจนกระทั่งตายในที่สุด ซึ่ง Finasteride ต้องรับประทานทุกวัน แต่ในเพศหญิง ยานี้ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ ควรได้รับยา Minoxidil แทน

สำหรับผมร่วงจากสาเหตุพันธุกรรม Minoxidil สามารถใช้ในรูปแบบ โฟม หรือ สเปรย์ ฉีดไปโดยตรงที่หนังศีรษะบริเวณที่มีปัญหา ที่นิยมใช้ในท้องตลาดคือ Rogaine หรือ Regaine โดยใช้สองครั้งต่อวัน ผลของมันคือขยายหลอดเลือดบริเวณใต้ผิวหนังของหนังศีรษะ ทำให้รากผมได้รับสารอาหารมากขึ้น ทำให้หยุดการหลุดร่วงของเส้นผม แนะนำให้ใช้เร็วที่สุดที่เริ่มมีอาการ จะให้ผลลัพธ์ที่ดี

แต่ยานี้ไม่สามารถทำให้ผมที่เกิดการเสียหายและรากผมตายไปแล้วกลับมามีชีวิตใหม่ได้ เพียงแค่ไม่ให้เป็นมากขึ้นเท่านั้น จึงควรใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการปลูกผมย้ายรากเพื่อผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีขึ้น

พบว่าเพียง 15.6% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ได้รับการรักษาด้วยยาก่อนการรักษาด้วยการปลูกผม ซึ่งถือว่าเป็นเปอร์เซ็นที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก เพราะคนไข้ที่มีปัญหานี้ควรได้รับการรักษาด้วยยาก่อนในระยะเวลาหนึ่งก่อนได้รับการรักษาด้วยการปลูกผม เพราะคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกผมโดยที่ไม่ได้รับยามาก่อนมักมีโอกาสที่ไม่พอใจในผลลัพธ์มาก และมีแนวโน้มที่จะได้รับการปลูกผมครั้งที่สอง

การปลูกผม

การปลูกผมนั้นเป็นการย้ายผมจากบริเวณที่แข็งแรงไปยังบริเวณที่มีปัญหา ไม่ได้มีผมใหม่เกิดขึ้นจากการปลูกผมเพียงแค่ย้ายบริเวณของผมเท่านั้น

วิธีที่แตกต่างหลากหลายได้ถูกพัฒนาขึ้นในการปลูกผม แต่ก็มีหลักการเดียวกัน 3 เฟสคือ การเจาะสกัดกราฟต์ผม การเก็บรักษากราฟต์ผม และการปักปลูกกราฟต์ผม

วิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันของการปลูกผมคือวิธี FUE (Follicular Unit Excision) วิธีนี้ใช้เข็มแหลมที่มีรูกลวงขนาดเล็กมากในการเจาะสกัดรากผมจากบริเวณ Donor Area ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแผลขนาดเล็กมาก สังเกตุได้ยากหากไม่ตัดผมจนสั้นมาก

อีกวิธีคือ FUT (Follicular Unit Transplantation) วิธีนี้จะค่อนข้างเกิดแผลมากกว่าวิธี FUE โดยการ ผ่าตัดหนังศีรษะบริเวณ Donor Area แล้วจึงแยก รากผมออกเป็นทีละกราฟต์จากผิวหนังที่ตัดออกมานั้นหลังจากนั้นจึงนำกราฟต์ผมเหล่านั้นไปปักและปลูกในบริเวณที่ต้องการ

 

เทคนิคที่ดีที่สุดในการปลูกผมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา อายุของผู้ป่วย และแพทย์ผู้ทำการปลูกผม ซึ่งแพทย์แต่ละคนจะมีวิธีที่ตนเองชอบและเชี่ยวชาญแตกต่างกัน

ราคาในการปลูกผม

 

พบว่าประเทศที่มีราคาการปลูกผมแพงที่สุดคือประเทศแคนาดาและออสเตรเลีย โดยราคาเฉลี่ยอยู่ทีกราฟต์ละ 224 บาท/กราฟต์ และในประเทศไทยพบว่าราคาถูกที่สุดอยู่ที่ 30 บาทต่อกราฟต์ ราคาเฉลี่ย ทั้งหมดของโลก อยู่ที่ 95.36 บาทต่อกราฟต์

ระดับความรุนแรงของปัญหาผมร่วงผมบางศีรษะล้าน

ระดับความรุนแรงมักใช้ Hamilton-Norwood Scale ในการประเมิน ซึ่งยังสามารถบอกจำนวนของ กราฟต์ผมที่จะใช้ปลูกในแต่ละระดับได้อีกด้วย

จากข้อมูลพบว่า 76.9% ของคนไข้ที่ประสบปัญหาผมร่วงผมบางได้รับการรักษาด้วยวิธีการปลูกผม โดยจะเริ่มมารักษาที่ Norwood Scale 2-4 และ Stage 4  พบมากที่สุด ส่วน Stage 6 พบน้อยมาก พบเพียง 1.1%

อายุและการปลูกผม

อายุที่เหมาะสมคือ 35 ปี เพราะจะง่ายต่อการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์ และยังง่ายต่อการแยกพื้นที่ที่ปลอดภัยที่จะเอากราฟต์ผมไปปลูกโดยไม่มีผลจาก DHT ซึ่งทำให้ผมที่ย้ายมาปลูกไม่มีการหลุดร่วง

อายุที่เหมาะสมในการปลูกผม ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป มักจะประเมินเป็น Case ไป ปัจจัยที่มีผลคือประวัติครอบครัว การใช้ยารักษาและความรุนแรงของปัญหา มักจะถูกใช้พิจารณาร่วมกันก่อนตัดสินใจในการปลูกผมในเวลาที่เหมาะสม

จำนวนการปลูกผม

ถึงแม้จะได้รับการปลูกผมแล้ว ผู้ป่วยยังมีความจำเป็นที่จะได้รับการติดตามการรักษาการปลูกผมครั้งที่สองอาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา ผมที่ปลูกไปแล้วหลุดร่วง ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะได้รับยารักษาผมร่วงก่อนการปลูกผม โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ในการรักษาดีขึ้นและยับยั้งการร่วงของผมในอนาคตได้ และยาสามารถใช้ต่อเนื่องหลังจากได้รับการปลูกผมแล้วอีกด้วย

จากข้อมูลพบว่า เพียง 7% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่เคยได้รับการปลูกผมมาก่อน พบ 33.1% ที่ได้รับการปลูกผมถึงสองครั้ง และ 9.6% ได้รับการปลูกผม ตั้งแต่สามครั้งขึ้นไป

การปลูกผมกับภาวะอารมณ์

พบว่าผมที่ดกดำเป็นสัญลักษณ์ของความงดงามและอ่อนวัยในยุคปัจจุบัน ซึ่งผมบาง ศีรษะล้านจะแสดงถึง ความเจ็บป่วยและความแก่ชรา และการมีผมร่วงผมบางก็ยังมีผลต่อสภาวะอารมณ์ ความมั่นใจ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงาน และบุคลิกภาพอีกด้วย

ความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยอยากทำการรักษาด้วยการปลูกผมหรือแม้แต่การรักษาอื่นๆ พบว่า 95.2% ของผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกผมมีภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น

ข้อมูลพบว่า 41.5% ของผู้ประสบปัญหาผมบางต้องการการปลูกผมเร็วที่สุด ซึ่งเป็นข้อชี้วัดถึงภาวะอารมณ์ได้ดีเลย เพราะการปลูกผม มีราคาสูง ต้องพักฟื้น และใช้เวลา แต่ผู้คนที่ประสบปัญหาก็ยังอยากทำอยู่ดี จึงสรุปได้ว่าผู้ที่ประสบปัญหาผมร่วงผมบางต้องเข้ารับการรักษาปัญหานี้ด้วยการปลูกผมเพื่อภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วย

เลือกไปปลูกผมต่างประเทศ

ราคาที่สูงของการปลูกผมในฝั่งโลกตะวันตกทำให้เกิดการออกไปปลูกผมนอกประเทศ เช่นผู้ป่วยจากประเทศแถบยุโรป อเมริกา และแคนาดา ออกไปปลูกผมนอกประเทศตนเองเป็นจำนวนมาก

คลินิกในต่างประเทศเช่น ไทย อินเดีย เม็กซิโก มักเสนอแพคเกจให้คนไข้ที่เดินทางมาจากประเทศอื่น จากการศึกษาพบว่าในไทยราคาเริ่มต้นเพียง 80,000 บาท

จากข้อมูลพบว่า 45.81% ของผู้ป่วย ต้องการไปปลูกผมนอกประเทศตนเองเพราะง่ายที่จะหาคลินิกที่มีคุณภาพ และราคาไม่แพงอีกด้วย

สรุป

ข้อมูลที่เราได้รวบรวมเกี่ยวกับการศึกษาการปลูกผมเป็นข้อมูลที่ชัดเจนกว่าข้อมูลจากหลายๆที่เพราะข้อมูลที่เราได้ ได้รับโดยตรงจากคนไข้ซึ่งดีกว่าข้อมูลที่รวบรวมจากคลินิกเอง เพราะจะสามารถลดอคติเพราะข้อมูลจากคลินิกที่รวบรวมเองอาจเกิดการตกแต่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ภาพลักษณ์ของคลินิกหรือหมอเหล่านั้นดูดีจากข้อมูล และอาจมีการปกปิดข้อมูลบางอย่างอีกด้วย

Dr. Suthida Arayametee

พญ. สุธิดา อารยเมธี

– แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Doctor of Medicine, Chiang Mai University)

– Grad.Dip.Clin.Sci.(Radiology), Chiang Mai University

– Diploma in Practical Dermatology, Cardiff University, UK

  • Certificate of completion: Fundamental of Platelet Rich Plasma (PRP) Therapy Training Course
  • Certificate of attendance: Implanter Workshop for Hair Transplantation, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
  • Certificate of Completion: Medical Weight Management Specialist, School of Antiaging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University
  • Certificate of attendance RELIFE Master Network Module 3 Advance Workshop for Thread Lifting (Definisse Free Floating)
  • Certificate of attendance Mid-Face Correction & Enhancement using thread, botulinum toxin, filler Workshop by No 1 Trainer
  • Certificate of attendance: RELIFE Master Network Module 2 Advance Workshop for thread Lifting (Definisse Double thread technique with 23-cm-thread)
  • Certificate of attendance: 9th ITCAM Hands-on Cadaveric Dissection of Toxin and Filler Injections and Thread Lift

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า