การปลูกผมด้วยวิธี FUT

FUT เป็นวิธีการปลูกผมย้ายรากแบบดั้งเดิมที่ยังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน วิธีการนี้เหมาะกับการปลูกผมที่ใช้กราฟต์ผมจำนวนมาก ใช้เวลาไม่มากนัก และค่าใช้จ่ายไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ โดยในส่วนต่อไปของบทความนี้ เราจะกล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการปลูกผมด้วยวิธีนี้ และข้อดีและข้อเสียของวิธี FUT และ FUE

FUT คืออะไร

วิธีการปลูกผมถาวรโดยการย้ายกอรากผม (graft) โดยการผ่าตัด หรือ Strip Method เป็นเทคนิคการปลูกผมที่คลินิกและศัลยแพทย์ทั่วโลกนิยมใช้ ในการปลูกผมด้วยวิธีการนี้จะมีการตัดแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะออกมาแล้วนำไปคัดแยกกราฟต์ผมออกจกแผ่นหนังศีรษะ และนำไปปลูกลงในบริเวณที่เถิกล้าน (Recipient Area) เพื่อแก้ปัญหาผมบางศีรษะล้าน-เถิก

ที่มาของการปลูกผมด้วยวิธี FUT

การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีพศ 2480 แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งถึงช่วงปี 2540 เช่นเดียวกับวิธี FUE และได้กลายมาเป็น “วิธีการมาตรฐาน” ในการปลูกผมทั่วโลก

FUT เป็นวิธีการปลูกผมที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าวิธีการแบบเดิมมาก (Hair Plug ) เนื่องจากเป็นการปลูกรากผมหรือกอผมทีละกอ แทนการใช้กลุ่มผมจำนวนมาก จึงสามารถแก้ปัญหาแนวไรผมที่ไม่เป็นธรรมชาติและเป็นกระจุกที่พบในการปลูกผมแบบเก่า

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเรื่องการปลูกผมทั่วโลก เราพบว่า FUE เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่คลินิกปลูกผม:

วิธี FUT มีหลักการทำงานอย่างไร?

เมื่อเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงอายุ 70ปี ผู้ชายเกือบ 80% จะได้รับผลกระทบจากปัญหาศีรษะล้านจากพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากภาวะไวเกินต่อฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ที่ทำให้ผมร่วง โดยฮอร์โมนนี้จะจับกับรากผมและทำให้รากผมอ่อนแอ และหลุดร่วงในที่สุด

การปลูกผมด้วยวิธี FUT เริ่มจากการผ่าตัดแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะออกจากบริเวณ Donor Area ที่ด้านหลังของศีรษะ จากนั้นจึงตัดแยกออกเป็นกราฟต์ผม เพื่อนำไปปลูกลงในบริเวณที่เถิกล้านหรือผมบาง เพื่อรักษาปัญหาผมลบางศีรษะล้าน

ขั้นตอนการปลูกผมด้วยวิธี FUT

FUT เป็นวิธีการปลูกผมที่ใช้เวลาน้อยกว่าวิธี FUE เนื่องจากทำการนำกราฟต์ผมโดยการตัดแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะแทนที่จะสกัดเก็บรากผมทีละราก แต่มีขั้นตอนการปลูกและการเก็บรักษารากผมที่เหมือนกันกับวิธี FUE การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีขั้นตอนดังนี้

  • ศัลยแพทย์จะเล็มผมที่บริเวณ donor area จากนั้นจึงตัดแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะที่มีเส้นผมอยู่ออกมา
  • จากนั้น ศัลยแพทย์จะตัดแยกแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะออกเป็นรากผม
  • เก็บรากผมไว้ในน้ำยาปลอดเชื้อ และแช่เย็นเก็บไว้จนกว่าจะทำการปลูกลงในบริเวณที่เถิกล้าน
  • จากนั้น ศัลยแพทย์จะเจาะช่องขนาดเล็ก ๆ ในบริเวณที่เถิกล้าน ซึ่งเรียกว่าช่องปลูกผมเพื่อให้กราฟต์ผมฝังตัวลงไปในรูเหล่านั้น
  • ใช้ปากคีบ(forceps)แบบพิเศษที่เอียงทำมุมเฉพาะ เพื่อปักกราฟต์ผมที่เตรียมไว้ลงในช่องดังกล่าว

การปลูกผมด้วยวิธี FUE และ FUT

การปลูกผมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ การเจาะการจัดเก็บ และการปลูกผม วิธีการปลูกผมทั้งหมดมีขั้นตอนการเก็บรักษาและการปักหรือปลูกรากผมที่เหมือนกัน แต่มีเทคนิคการเจาะเก็บรากผมที่แตกต่างกัน

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น กราฟต์ผมในวิธี FUT นั้นได้มาจากการตัดแถบเนื้อเยื่อหนังศีรษะจากบริเวณ Donor Area ที่ด้านหลังศีรษะ จากนั้นจึงตัดแยกออกเป็นกราฟต์ผม เพื่อปลูกลงในช่องที่เจาะไว้ แต่ในวิธี FUE จะเจาะสกัดเก็บรากผมออกจาก Donor Area ทีละกราฟต์

การสกัดเก็บกราฟต์ผมด้วยวิธี FUT อาจใช้เวลาไม่มากเท่าวิธี FUE และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า รวมทั้งยังคงความหนาแน่นของผมใน Donor Area และยังได้กกราฟต์ผมจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามการปลูกผมด้วยวิธี FUE จะไม่ทำให้เหลือรอยแผลเป็นที่เห็นได้ชัดเจนในผู้ที่ชอบไว้ผมสั้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี FUT

จากการศึกษาค่าใช้จ่ายในการปลูกผม เราพบว่าโดยทั่วไปแล้ว การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธี FUE มากเนื่องจากใช้เวลาน้อยกว่า แต่ที่น่าสนใจก็คือ เราพบว่า FUT ไม่ใช่วิธีที่ใช้กันมากนักในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ เช่น ไทย เม็กซิโก หรืออินเดีย

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกผมด้วยวิธี FUT

ข้อดี ข้อเสีย
FUT เป็นวิธีการปลูกผมที่ใช้เวลาน้อยกว่าวิธี FUE เพราะสามารถปลูกกราฟต์ผมจำนวนมากได้ในครั้งเดียว
หลังการปลูกผมด้วยวิธี FUT จะเกิดรอยแผลเป็นที่บางและยาว ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถไว้ผมสั้น มิเช่นนั้นจะสังเกตเห็นแผลเป็นได้ชัดเจน
การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธี FUE เนื่องจากใช้เวลาน้อยกว่า และศัลยแพทย์ไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักในการสกัดกราฟต์ผมทีละกราฟต์ออกจากศีรษะ
อาจมีการเก็บเกี่ยวกราฟต์ผมมากเกินไป เนื่องจากต้องตัดแถบเนื้อเยื่อ แทนที่จะสกัดรากผมตามที่จำเป็น
ผมบริเวณ Donor Area จะไม่ดูบางลง เนื่องจากเป็นการตัดแถบเนื้อเยื่อผิวหนัง ไม่ใช่การดึงรากผมจำนวนมาก
การปลูกผมด้วยวิธี FUT มักทำให้เกิด Shock Loss ที่บริเวณ Donor Area เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บมากกว่าวิธี FUE

การปลูกผมด้วยวิธี FUTเหมาะกับใคร

การปลูกผมเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุมาก เนื่องจากศัลแพทย์สามารถระบุได้ว่าปัญหาผมร่วงจะรุนแรงมากเพียงใดและสามารถเลือก Donor Area ที่เหมาะสมได้โดยง่าย โดยจำเป็นจะต้องเลือก Donor Area ที่มีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT เพื่อไม่ให้ผมหลุดร่วงในอนาคต นอกจากนี้ การปลูกผมเหมาะกับผู้ป่วยเพศชายที่มีปัญหาศีรษะล้านจากพันธุกรรมหรือ Androgenetic Alopecia แต่ไม่เหมาะกับผมร่วงที่เกิดจากปัญหาอื่น ๆ

บริเวณ Donor Area ควรมีขนาดใหญ่และมีผมหนาแน่น แต่ลักษณะของ Donor Area ไม่ใช่ปัญหานักในกรณีของการปลูกผมแบบ FUT เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี FUE เนื่องจากแถบเนื้อเยื่อผิวหนังถูกตัดออก จะไม่ทำให้ผมที่บริเวณ Donor Area ดูบางลงจนสังเกตได้ ซึ่งต่างจากในวิธี FUE

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีผลข้างเคียงที่คล้ายคลึงกับวิธี FUE เป็นการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่ำมาก โดยมีเพียงผลข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ ผลข้างเคียงโดยส่วนใหญ่จะหายไปภายในไม่กี่วัน โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการปลูกผมด้วยวิธี FUT มีดังนี้

  • เลือดออก: อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังการปลูกผมด้วยวิธี FUT ทั้งที่บริเวณที่ปลูกกราฟต์ผมและในบริเวณที่สกัดกราฟต์ผมออกมา ซึ่งสามารถรักษาได้โดยง่ายโดยการกดด้วยผ้าก๊อซ
  • อาการปวดที่แผลเป็น: แผลบาง ๆ ที่เหลืออยู่ที่บริเวณ Donor Area อาจทำให้เกิดอาการปวดผลังการผ่าตัดในผู้ป่วยบางคน แต่เมื่อแผลหายดีและตัดไหมออกแล้ว ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกปวดแผลอีกต่อไป
  • ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ: การผ่าตัดทุกประเภทล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากทำให้เกิดแผลเปิด แผลที่เกิดจากการปลูกผมด้วยวิธี FUT นั้นมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำมาก เนื่องจากที่หนังศีรษะมีการไหลเวียนเลือดสูง
  • อาการบวม: ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมเล็กน้อยที่บริเวณดวงตาและหนังศีรษะเป็นเวลาหลายวันหลังการผ่าตัด แต่ไม่ได้ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวมากนัก
  • สะเก็ดแผล: อาจเกิดสะเก็ดแผลขนาดใหญ่และบางบนแผลที่เกิดจากการสกัดเก็บกราฟต์ผม แต่สะเก็ดแผลเหล่านี้จะหลุดร่อนหลังจากผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์
  • Shock loss: ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผมร่วงในบริเวณที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่ปลูกผม ซึ่งเป็นผลมาจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ภาวะนี้เรียกว่า Shock Loss ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
  • อาการคัน ตึง และชา: ผู้ป่วยอาจมีอาการคัน ตึง และชา หลังการผ่าตัด
  • ผมร่วง: แม้ว่ารากผมจะถูกเก็บรักษาไว้ในน้ำยาปลอดเชื้อ แต่เนื่องจากรากผมไม่มีเลือดหล่อเลี้ยง จึงอาจทำให้ผมหลุดร่วงหลังการปลูกผม แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียง 1-6 สัปดาห์ หลังจากนั้นผมจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง
การปลูกผมด้วยวิธี FUE หรือ FUT วิธีใดดีกว่ากัน?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามักมีการทำการตลาดว่า FUE เป็นวิธีการปลูกผมขั้นสูงที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าแต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีของมันเอง และขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาผมร่วงและเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละคน

การปลูกผมด้วยวิธี FUT ทำให้รู้สึกเจ็บหรือไม่?

จะมีการฉีดยาชาที่หนังศีรษะก่อนการปลูกผม เพื่อป้องกันความเจ็บปวดระหว่างการทำหัตถการ โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยาชา และจะรู้สึกอาการปวดเล็กน้อยหลังการผ่าตัดในระหว่างที่แผลหาย แต่สามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้โดยการรับประทานยาแก้ปวด

การปลูกผมด้วยวิธี FUT มีอัตราความสำเร็จมากเพียงใด?

อัตราความสำเร็จของ FUT ขึ้นอยู่กับทักษะและความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ที่ทำการปลูกผม และหากทำการปลูกผมด้วยวิธีนี้อย่างถูกต้อง จะมีอัตราความสำเร็จถึง 90% ขึ้นไป

การนอนหลังปลูกผมด้วยวิธี FUT?

คุณควรนอนหงาย โดยให้คอและศีรษะอยู่สูง เพื่อลดการกดทับที่บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการปลูกผม การนอนคว่ำจะทำให้เกิดอาการบวมและกราฟต์ผมที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหายมากขึ้น

คำถามที่พบบ่อย

Dr. Suthida Arayametee

พญ. สุธิดา อารยเมธี

– แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(Doctor of Medicine, Chiang Mai University)

– Grad.Dip.Clin.Sci.(Radiology), Chiang Mai University

– Diploma in Practical Dermatology, Cardiff University, UK

  • Certificate of completion: Fundamental of Platelet Rich Plasma (PRP) Therapy Training Course
  • Certificate of attendance: Implanter Workshop for Hair Transplantation, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
  • Certificate of Completion: Medical Weight Management Specialist, School of Antiaging and Regenerative Medicine, Mae Fah Luang University
  • Certificate of attendance RELIFE Master Network Module 3 Advance Workshop for Thread Lifting (Definisse Free Floating)
  • Certificate of attendance Mid-Face Correction & Enhancement using thread, botulinum toxin, filler Workshop by No 1 Trainer
  • Certificate of attendance: RELIFE Master Network Module 2 Advance Workshop for thread Lifting (Definisse Double thread technique with 23-cm-thread)
  • Certificate of attendance: 9th ITCAM Hands-on Cadaveric Dissection of Toxin and Filler Injections and Thread Lift

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์

    ซึ่งเป็นคุกกี้ประเภทที่จดจำสิ่งที่ผู้ใช้บริการเลือกหรือตั้งค่าบนเว็บไซต์เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ภาษา ฟ้อนต์และรูปแบบการนำเสนอ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามการตั้งค่าที่เลือกไว้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า