ขั้นตอนการปลูกผม
เมื่อพูดถึงการปลูกผม คนส่วนใหญ่มักจินตนาการถึงขั้นตอนการปลูกผมในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ในความเป็นจริงการปลูกผมประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
- การเตรียมตัวก่อนปลูกผมและปรึกษาแพทย์
- การปลูกผมในห้องปฏิบัติการ
- การดูแลหลังปลูกผม
การดูแลก่อนปลูกผมและการปรึกษาแพทย์
การปรึกษาแพทย์ เป็นขั้นตอนแรกที่คนไข้จะเข้ารับการวินิจฉัยภาวะต่างๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัย ซึ่งภาวะผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ฮอร์โมน เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุดในคนไข้ที่มีความต้องการเข้ารับการปลูกผม อย่างไรก็ตาม ในบางภาวะ/โรค การปลูกผมอาจไม่ใช่การรักษาที่ดีที่สุด เช่น โรคผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งแพทย์ จะต้องวิเคราะห์ปัญหาของคนไข้อย่างละเอียด ให้การวินิจฉัย และข้อมูลที่ถูกต้องและตรงไปตรงมากับคนไข้ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการปลูกผมออกมาดีที่สุด
การปรึกษาแพทย์มักใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลานี้ แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกผมเทคนิคต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหาผมร่วงของผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์มักใช้กล้องจุลทรรศน์แบบพิเศษ เพื่อประเมินจำนวน สี ความหนา โครงสร้าง และทิศทางการเติบโตของเส้นผมในบริเวณ Donor Area และ Recipient Area เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยและการวางแผนการปลูกผม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นตอนการประเมินกราฟต์ผมและการออกแบบแนวไรผม
นอกจากการวิเคราะห์ปัญหาผมร่วงในปัจจุบันแล้ว แพทย์อาจทำการทำนายระดับการหลุดร่วงของเส้นผมในอนาคตร่วมด้วย ซึ่งวิธีการที่ใช้กันโดยทั่วไปก็คือการซักประวัติครอบครัว เนื่องจากในกรณีของผมร่วงจากพันธุ์กรรมนั้น ประวัติปัญหาผมร่วงในญาติผู้ใหญ่มักจะช่วยให้สามารถสรุปข้อสรุปเกี่ยวกับอาการผมร่วงในอนาคตของผู้ป่วยได้ ตัวอย่างเช่น หากสังเกตเห็นว่าแนวไรผมถอยร่นขึ้นไปตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีความน่าจะเป็นสูงที่ศีรษะจะเถิกล้านมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในระหว่างการปรึกษาแพทย์ แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงผลลัพธ์การปลูกผมที่คาดการณ์ไว้ วิธีและเทคนิคที่ใช้ในการรักษา ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงอธิบายการเตรียมตัวก่อนปลูกผมโดยละเอียด
การปลูกผมในห้องปฏิบัติการ
ก่อนเข้ารับการปลูกผม จะต้องมีการถ่ายรูปก่อนคนไข้เข้ารับการปลูกผม เพื่อใช้อ้างอิงผลลัพธ์การปลูกผม จากนั้นแพทย์จะทำการออกแบบแนวไรผมเพื่อเป็นแนวทางในการปลูกผม
การปลูกผมเป็นหัตถการที่ใช้ยาชาเฉพาะที่ในการระงับความรู้สึก คนไข้จะรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา โดยการปลูกผมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การสกัดกราฟต์ผมออกจากหนังศีรษะ การเตรียมเซลล์รากผม การเตรียมบริเวณที่จะปลูกผม (Recipient area) และการปลูกกราฟต์ผมลงบนหนังศีรษะ
โดยทั่วไป การปลูกผมใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขั้นตอนต่าง ๆ
การสกัดกราฟต์ผม
สำหรับวิธี FUE และ DHI (การปลูกผมโดยการเจาะสกัดเซลล์รากผม) จะมีการโกนผมบริเวณท้ายทอยหรืออาจโกนผมทั้งศีรษะ ก่อนการผ่าตัด ในวิธีนี้จะมีการเจาะสกัดเพื่อเก็บกลุ่มเซลล์รากผม (กราฟต์ผม) โดยแพทย์จะเจาะสกัดกราฟต์ผมออกมาบางส่วน และเหลือกราฟต์ผมไว้ เพื่อให้บริเวณท้ายทอยยังคงมีผมหนาแน่น โดยอุปกรณ์ที่ใช้เจาะจะมีขนาดเล็ก (0.6 – 1.2 มิลลิเมตร) จากนั้นจึงดึงออกด้วยที่คีบทางการแพทย์ (Forceps) กระบวนการนี้ทำให้เกิดแผลขนาดเล็ก และแผลเหล่านี้สามารถหายได้เองโดยไม่เห็นรอยแผลภายใน 2-3 วัน
Long Hair DHI เป็นเทคนิคการปลูกผมขั้นสูงสุด ซึ่งคนไข้ไม่ต้องโกนหรือตัดผม ทั้งบริเวณ Donor และ Recipient Area โดยอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้จะเป็นอุปกรณ์พิเศษที่ออกแบบมาเพื่อการสกัดกราฟต์ผมเส้นยาว และมีขนาดแผลที่เล็ก ใช้เวลาพักฟื้นน้อย
การเตรียมบริเวณที่จะปลูกผม และการปัก/ปลูกรากผม
หลังจากเตรียมเซลล์รากผมหรือกลุ่มรากแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเตรียมบริเวณที่จะปลูกผม หรือ Recipient Area โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้อุปกรณ์ในการสร้างบาดแผล เพื่อรองรับกราฟต์ผมที่จะถูกใส่ที่บริเวณ Recipient Area โดยแผลจะต้องทำมุมสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของเส้นผมตามธรรมชาติ
การปักกราฟต์ผมที่แนวไรผมเป็นสิ่งสำคัญต่อความเป็นธรรมชาติของผลลัพธ์ที่ได้ การปลูกผมแบบ FUE จะใช้ที่คีบทางการแพทย์ (Forceps) ในการใส่กราฟต์ผมในแผล ส่วนเทคนิค DHI และ Long Hair DHI จะใช้อุปกรณ์ช่วยปลูกที่เรียกว่า Implanter Pen ในการปลูก ซึ่งจุดเด่นของ Implanter Pen คือการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับกราฟต์ผมขณะปลูก และลดระยะเวลาในการปลูกผม ซึ่งจะส่งผลถึงอัตราการอยู่รอดที่มากขึ้นของกราฟต์ผมที่ปลูก ทั้งนี้ ในแง่ความหนาแน่น ทิศทาง และผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์เป็นหลัก
การดูแลหลังการผ่าตัด
หลังการปลูกผมจะมีการพันเทปไว้รอบศีรษะของผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยช้ำและอาการบวมที่บริเวณใบหน้า แต่จะไม่มีการพันผ้าพันแผลที่บริเวณที่ปลูกผม หรือ recipient area เนื่องจากอาจทำให้กราฟต์ผมหลุดออกเมื่อนำผ้าพันแผลออก
คนไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดหากมีอาการปวดที่บริเวณ Donor Area และคนไข้หลายรายรายงานว่ามีอาการตึงและชาที่บริเวณ Donor Area และ Recipient Area หลังการผ่าตัด
คนไข้จะสามารถสระผมได้ในวันที่สามหลังการผ่าตัด แต่จะต้องสระผมอย่างระมัดระวังและใช้แชมพูอ่อนๆ และคนไข้ส่วนใหญ่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติหลังจากผ่านไป 5-7 วัน
คนไข้จะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้งหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง ในช่วง 2 เดือนแรกหลังการปลูกผม
เนื่องจากการปลูกผมไม่ได้หยุดผมร่วง จึงแนะนำให้รักษาอาการผมร่วงด้วยโดยใช้ยาหลังจากปลูกผม เช่น ยาฟีนาสเตอไรด์หรือไมนอกซิดิล
เซลล์รากผมที่ปลูกแล้วจะหลุดออกมาในช่วงแรกหลังการปลูกผม และผมจะเริ่มขึ้นใหม่หลังจากผ่านไปประมาณ 3 เดือน โดยจะเห็นผลลัพธ์แรกหลังจาก 6 เดือน ผลลัพธ์สุดท้ายหลังจาก 12 เดือน