การปลูกหนวดเครา
หนวดเคราถือเป็นลักษณะสำคัญของใบหน้าของผู้ชายมานานหลายศตวรรษ เพราะไม่เพียงแต่แสดงออกถึงความเป็นชาย แต่ยังถือเป็นเครื่องประดับบนใบหน้าอีกด้วย รูปร่าง สี และความยาว ขนบนใบหน้า จึงมีความสำคัญต่อรูปลักษณ์และความน่าดึงดูดใจ เช่นเดียวกับทรงผม
การปลูกหนวดเคราคืออะไร?
ไม่ว่าปัญหาของหนวดเคราจะเป็นผลมาจากพันธุกรรมหรือฮอร์โมน หัตถการปลูกหนวดเคราแบบแผลเล็กสามารถปลูกหนวดเคราให้ปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ เช่นเดียวกับการปลูกผมแบบดั้งเดิม โดยการนำเส้นขนจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมาปลูกลงในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งสามารถเติมเต็มได้แม้กระทั่งช่องว่างเล็ก ๆ เช่น ช่องว่างที่เกิดจากแผลเป็น
วิธี FUE – การปลูกหนวดเคราแบบย้ายเซลล์รากผม
ในการปลูกหนวดเคราด้วยวิธี FUE จะมีการนำรากผมทีละรากออกจากหนังศีรษะด้วยความแม่นยำสูงมาก จากนั้นจึงเก็บรักษาไว้ชั่วคราวก่อนนำไปปลูก เนื่องจากเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่อ่อนโยนและซับซ้อน และไม่มีแผลเป็นหลงเหลืออยู่ วิธีนี้จึงได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ที่ชอบไว้ผมสั้น นอกจากนี้ แผลยังหายเร็ว และเส้นผมที่ปลูกสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว
วิธี FUT วิธีการปลูกหนวดเคราด้วยกอรากผม
วิธีนี้ไม่เหมาะกับการปลูกหนวดเครา
การปลูกหนวดเคราด้วยวิธี DHI (Direct Hair Implantation)
ในวิธีนี้ เส้นผมของผู้ป่วยจะถูกนำออกจากบริเวณ Donor Area ซึ่งปกติแล้วจะเป็นด้านหลังของศีรษะ ทีละเส้นแล้วนำไปปลูกลงในบริเวณที่เหมาะสมในทันที จึงไม่มีรอยผ่านและรอยแผล และรากผมมีอัตราการรอดสูงกว่าปกติมาก
ข้อดีและข้อเสียของการปลูกหนวดเครา
การปลูกหนวดเคราเหมาะกับใคร?
การปลูกหนวดเคราเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ชายที่ต้องการปลูกหนวดเครา แต่สิ่งที่สำคัญคือบริเวณ Donor Area ที่ด้านหลังศีรษะหรือกระหม่อมจะต้องมีพื้นที่มากพอ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการอย่างเต็มที่ หากที่ด้านหลังหรือด้านบนศีรษะจะมีรากผมไม่เพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้เส้นผมจากส่วนอื่นของร่างกาย
เช่นเดียวกับหัตถการผ่าตัดทุกประเภท การปลูกหนวดเคราก็มีผลข้างเคียงและความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยทุกคนจึงควรได้รับข้อมูลเหล่านี้อย่างครบถ้วน แม้ว่าอาการแทรกซ้อนจะพบได้ยากในการปลูกผมที่ทำโดยแพทย์ปลูกผม แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยผู้ป่วยจำนวนมากจะรู้สึกคันเล็กน้อยหลังการปลูกหนวดเครา และหากผู้ป่วยเกามากเกินไป เชื้อโรคและแบคทีเรียอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมาได้ แม้จะมีความเสี่ยงต่ำก็ตาม
ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกชา แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แต่ในบางกรณีรอยเจาะที่เกิดจากการปลูกหนวดเคราอาจทำให้เกิดเลือดออก ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมอย่างรุนแรงในวันถัดมา ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ แต่ไม่เป็นอันตราย โดยควรรักษาอาการบวมร่วมกับการดูแลความสะอาดของผิวหนัง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
การปลูกหนวดเคราเหมาะกับใคร?
การปลูกหนวดเคราเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างภาพลักษณ์ที่ต้องการสำหรับผู้ชายที่ไม่พอใจกับหนวดเคราของตนเอง แต่ผู้ป่วยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขบางประการ และการที่เส้นขนไม่งอกนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกหนวดเครา
การปลูกหนวดเคราสามารถใช้ได้กับทุกคนไม่ว่าจะเกิดจากการขาดฮอร์โมน แผลเป็น หรือความบกพร่องทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะต้องมีสุขภาพดี และไม่มีการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บ นอกจากนี้ บริเวณหลังศีรษะที่ใช้เป็น Donor Area ควรมีผมปริมาณมากเพียงพอ
ขั้นตอนการปลูกหนวดเครา
คลินิกที่ทันสมัยหลายแห่งมีขั้นตอนการปลูกหนวดเคราที่เหมือนกัน โดยในขั้นแรก แพทย์ปลูกผมและผู้ป่วยจะปรึกษาหารือกันเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและความคิดของผู้ป่วย ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ และขั้นตอนที่จำเป็น
จากนั้นศัลยแพทย์จะมีการกำหนดจำนวนกราฟต์ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และตรวจสอบปริมาณกราฟต์ที่สามารถสกัดออกจาก Donor Area
การปลูกหนวดเคราเป็นหัตถการผ่าตัดแบบแผลเล็ก โดยเริ่มจากการสกัดกราฟต์หรือกอรากผม จากด้านหลังของศีรษะผู้ป่วย จากนั้นจึงเลือกกอรากผม และตรวจสอบความแข็งแรงและความหนา เพื่อคัดเส้นผมที่เล็กเกินไปออก เนื่องจากเส้นขนที่ศีรษะนั้นเติบโตเป็นกลุ่ม แต่เส้นขนที่หนวดเครานั้นประกอบด้วยเส้นขนเดี่ยว ดังนั้นจึงต้องแยกกอรากผมที่สกัดออกมาให้เป็นเส้นขนเดี่ยว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน แพทย์จะเตรียมบริเวณผิวหนังที่ต้องการปลูกหนวด โดยการเจาะช่องขนาดเล็กที่ผิวหนัง
เมื่อเตรียมบริเวณหนวดเคราและเส้นขนที่จะใช้เรียบร้อยแล้ว ขนแต่ละเส้นจะถูกปลูกเข้าไปในช่องเล็ก ๆ ที่สร้างขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง และโดยปกติแล้วผู้ป่วยจะสามารถออกจากสถานพยาบาลได้ทันทีจากปลูกหนวดเคราเสร็จ
โดยผลลัพธ์สุดท้ายสามารถเห็นได้หลังได้หลังจากผ่านไปประมาณ 6-12 เดือน เนื่องจากเส้นขนที่นำไปปลูกต้องใช้เวลาในการงอกใหม่
การผ่าตัดหลังการปลูกหนวดเครา
ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการพักฟื้นจากการปลูกหนวดเครา และพบปัญหาน้อยมาก แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย ได้แก่ อาการคัน สะเก็ดแผลเล็ก ๆ เลือดออกเล็กน้อย อาการบวม และ/หรือ รอยฟกช้ำ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทุกหัตถการที่มีการทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง และเป็นเรื่องปกติมากที่เส้นผมที่ปลูกไว้จะหลุดร่วงภายในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก แต่ผมจะงอกขึ้นใหม่ในไม่กี่เดือนต่อมา ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลกับผลข้างเคียงเหล่านี้
แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือชนิดทาให้กับผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการคันและสะเก็ดแผล ซึ่งจะทำให้หายเร็วขึ้น
ทางเลือกอื่น ๆ
- หนึ่งในวิธีการทางเลือกที่ดีที่สุดในการปลูกหนวดเคราก็คือการใช้ยามิน็อกซิดิล สารละลายชนิดนี้ให้ผลดีในผู้ชายที่มีปัญหาผมร่วงลุกลาม เนื่องจากจะไม่ทำให้เส้นขนโตขึ้นมากนักในบริเวณที่เถิกล้าน แต่จะช่วยกระตุ้นการเติบโของเส้นขน และเพิ่มความหนาแน่นของหนวดเคราของผู้ป่วย
- อีกทางเลือกหนึ่งคือการรับประทานอาหารเสริม เนื่องจากผมร่วงอาจเกิดจากการขาดวิตามินหรือสารอาหาร ด้วยเหตุนี้ การรับประทานอาหารที่สมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่มีสารอาหารหรือวิตามินเหล่านี้ รากผมก็จะเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น คุณจึงควรรับประทานอาหารเสริมหากคุณไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารของคุณ
- การออกกำลังกายและการลดน้ำหนักสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ ในทางกลับกัน จะช่วยให้เส้นขนบริเวณเครายาวและเติมเต็มจุดที่เป็นหย่อมหรือบาง การออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดการอุดตันของขุมขนซึ่งอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เคราไม่งอก การปลูกหนวดเครามีข้อดีที่สำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องรับสารเคมีใด ๆ เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากใช้วิธีการธรรมชาติทั้งหมด
- การบำบัดด้วยฮอร์โมนสามารถใช้เป็นทางเลือกในการปลูกขนบนใบหน้าได้ โดยแพทย์อาจสั่งยาฮอร์โมน หรือยาฉีดให้กับผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม แต่การรักษาด้วยฮอร์โมนก็มีผลข้างเคียงหลายอย่าง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ฮอร์โมนบำบัด
สามารถปลูกหนวดเคราพร้อมกับปลูกผมได้หรือไม่?
สามารถทำการปลูกเคราร่วมกับการปลูกผมได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ บริเวณ Donor Area จะต้องมีเส้นขนมากพอที่จะปกคลุมบริเวณที่ต้องการ ทั้งที่ศีรษะและหนวดเครา