การปลูกผมในผู้หญิง
แม้ว่าผู้ชายจะได้รับผลกระทบจากผมร่วงมากกว่าผู้หญิง แต่ 42% ของผู้หญิงก็มีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมด้วยเช่นกัน สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงนอกเหนือจากพันธุกรรม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ความเครียด หรือวัยหมดประจำเดือน การปลูกผมเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้หญิง
โรคผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้หญิง
ภาวะผมร่วงบางในผู้หญิงนั้น เป็นการบางของเส้นผมแบบไม่มีแผลเป็นและค่อยๆร่วงบางลง โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้า ตรงกลาง และด้านข้างของหนังศีรษะ โดยขนาดของเส้นผมและรากผมก็เล็กลงร่วมด้วย สาเหตุนั้นนอกจากตามพันธุกรรมอย่างเช่นในเพศขาย ภาวะผมร่วงบางในผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย อาทิเช่น การอักเสบ ฮอร์โมนต่างๆ และแม้แต่สิ่งแวดล้อม ก็มีบทบาทเช่นกัน
การซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะส่องกล้องที่หนังศีรษะอย่างละเอียด การเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมน และ ค่าแร่ธาตุต่าง มีความสำคัญในการวินิจฉัยสาเหตุร่วมของภาวะผมร่วงบางในผู้หญิง นอกเหนือจากภาวะผมร่วงบางจากพันธุกรรม
การลุกลามของโรคผมร่วงในผู้หญิง
ผมร่วงจากพันธุกรรมในผู้หญิงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมากจากผมร่วงในผู้ชาย เมื่อพิจารณาจากสเกลลุดวิก ในผู้หญิง ผมร่วงมักเริ่มจากบริเวณกลางกระหม่อม จากนั้นจึงขยายออกไปด้านหลังศีรษะและแนวไรผม และอาจมีการขยายไปด้านข้างเมื่ออยู่ในระยะรุนแรง
ในหลายกรณี อาจมีผมร่วงแบบกระจายบริเวณแนวไรผม แต่ผมร่วงทั้งศีรษะหรือศีรษะล้านบางส่วนเป็นสิ่งที่พบได้ยากมากในผู้หญิง โดยรูปแบบของผมร่วงในเพศหญิงนั้นจะประเมินโดยใช้สเกลของลุดวิกหรือโอลเซ่น (“ต้นคริสมาสต์”)
การรักษาเฉพาะที่
- Minoxidil 2-5% จะเพิ่มเลือดที่มาเลี้ยงศีรษะ และ ยืดผมระยะ Anagen ให้มีอายุยาวขึ้นได้
- Prostaglandin analog เช่น 0.1% latanoprost ยืดผมระยะ Anagen ให้มีอายุยาวขึ้นได้
- Ketoconazole ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และ มีคุณสมบัติ androgen-receptor antagonist
- Melatonin มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอย่างมาก การใช้ 0.1% Melatonin หยอดผม จะยืดผมระยะ Anagen ให้มีอายุยาวขึ้นได้
- เกร็ดเลือดเข้มข้น (PRP)
- การฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ
การรับประทานยา
ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีข้อจำกัด และ มีผลข้างเคียงของยาที่ต้องระมัดระวัง อาทิ Finesteride, Minoxidil, Spironolactone, flutamide
การปลูกผมย้ายราก
บริเวณที่ไม่เหลือรากผมแล้ว จำเป็นต้องรักษาด้วยการย้ายราก
การปลูกผมเหมาะกับใคร
น่าเสียดายที่แม้ว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีปัญหาผมร่วงจะเหมาะสำหรับการปลูกผม แต่จำนวนของผู้หญิงที่ควรได้รับการปลูกผมนั้นมีจำนวนที่น้อยกว่ามาก เนื่องจากผู้หญิงมักมีปัญหาผมร่วงแบบกระจายมากกว่าศีรษะล้านที่มีรูปแบบเฉพาะ นอกจากนี้ ในผู้ที่มีปัญหาผมร่วงแบบกระจาย จะมีอาการผมบางทั่วศีรษะ ดังนั้น Donor Area จึงมีขนาดเล็ก ซึ่งจากการศึกษาการปลูกผม เราพบว่าการปลูกผม 15.8% นั้นเป็นการปลูกผมที่ทำขึ้นในผู้หญิง
การปลูกผมเป็นวิธีการเดียวที่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาผมร่วงบริเวณกระหม่อม และยังคงมีเส้นผมที่สุขภาพดีและทนทานที่บริเวณด้านข้างและด้านหลังของศีรษะ ผมในบริเวณเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการปลูกผม เนื่องจากมีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT จึงไม่หลุดร่วงง่าย
ผู้หญิงต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากจากปัญหาผมร่วง แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยง่ายโดยการปลูกผม ปัญหาผมร่วงในผู้หญิง ได้แก่ โรคผมร่วงจากพันธุกรรม ผมร่วงจากแรงเชิงกล หัวเถิก แผลเป็นจากศัลยกรรมพลาสติก และผมร่วงเนื่องจากการบาดเจ็บ นอกจากนี้ การปลูกผมยังเป็นหัตถการที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแปลงเพศเป็นผู้หญิง เพื่อช่วยให้มีรูปลักษณ์ที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น
ประเภทของการปลูกผมในผู้หญิง
- การเพิ่มหนาแน่นของผมบางส่วน
- การออกแบบแนวไรผมใหม่
- การลดแนวไรผมให้ต่ำลง
- การปลูกคิ้ว
- ศัลยกรรมลดขนาดหนังศีรษะ
- การปกปิดแผลเป็น
ขั้นตอนการปลูกผมในผู้หญิง
การปลูกผมไม่เพียงแต่เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับผู้ป่วยหญิงที่สูญเสียเส้นผมอันเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือต้องการลดขนาดและความสูงของหน้าผาก
การปลูกผมในผู้หญิงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับในผู้ชาย และมีลักษณะเช่นเดียวกัน โดยวิธีการปลูกผมที่ใช้กันโดยทั่วไปมีด้วยกัน 3 วิธี คือวิธี FUT (วิธีการปลูกผมถาวรด้วยกอรากผม) FUE (การปลูกผมถาวรแบบย้ายเซลล์รากผม) และ วิธี DHI
การปลูกผม 3 วิธีนี้มีความแตกต่างกันที่ขั้นตอนการสกัดเก็บกอผม โดยในวิธี DHI และ FUE กอผมจะถูกสกัดออกจากบริเวณ Donor Area ออกทีละกอ โดยใช้เครื่องมือเจาะที่มีขนาดเล็กและกลวง ส่วนในวิธี FUT จะมีการตัดแถบเนื้อเยื่อผิวหนังออกจากบริเวณ Donor Area จากนั้นจึงตัดแยกออกเป็นกอผม โดยการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ และในขั้นตอนการย้ายราก โดย DHI จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Implanter
ในกรณีส่วนใหญ่บริเวณ Donor Area มักอยู่ที่ด้านหลังศีรษะของผู้ป่วย ซึ่งเป็นบริเวณที่ผมมีความต้านทานต่อฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคผมร่วงจากพันธุกรรม
กอผมที่ได้นี้จะถูกนำไปปลูกลงในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งเส้นผมเหล่านี้จะยังคงมีความต้านต่อฮอร์โมน DHT หลังจากที่นำไปปลูกแล้ว และจะเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างถาวร
ทางเลือกแทนการปลูกผมในผู้หญิง
ในช่วงผมบางนั้น อาจใช้ยาเฉพาะที่ ดังได้กล่าวไปแล้วหรือยารับประทาน ที่จะกล่าวต่อไป หากแต่ถ้าบริเวณหนังศีรษะบริเวณนั้น ไม่เหลือรากผมแล้ว ก็จำเป็นต้องใช้วิธีปลูกผม
มีวิธีการบำบัดแบบอื่น ๆ อีกหลายวิธีที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของผมได้ ได้แก่ การบำบัดด้วย PRP และเลเซอร์ความเข้มต่ำ ซึ่งจะปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะ ช่วยให้สารอาหารเข้าถึงรากผม และกระตุ้นการเจริญเติบโต แต่น่าเสียดายที่ฟินาสเทอไรด์ไม่เหมาะกับปัญหาผมร่วงในผู้หญิง เว้นเสียแต่ว่า ได้เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนมานานหลายปีและไม่มีข้อห้ามใช้เชิงสุขภาพด้านอื่นๆ
การตกแต่งทรงผม เช่น การทำสีผม ก็สามารถช่วยลดความเด่นชัดของผมร่วงแบบกระจายได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้หญิงมักไว้ผมยาวมากกว่าผู้ชาย ทำให้ง่ายต่อการจัดแต่งทรงผมเพื่อปกปิดปัญหาผมร่วง
ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมในผู้หญิง
ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมในผู้หญิงนั้นไม่ต่างจากการปลูกผมในผู้ชายมากนัก
จากการศึกษาค่าใช้จ่ายในการปลูกผม เราพบว่าการปลูกผมในสหราชอาณาจักรมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 108 บาทต่อกราฟต์ 182 บาท ต่อกราฟต์ในสหรัฐอเมริกา และ 30 บาทในไทย
การปลูกผม 2,500 กราฟต์ในไทยจะมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 75,000 บาท แต่เนื่องจากการปลูกผมเป็นศัลยกรรมเพื่อความงาม และไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ ประกันสุขภาพจึงไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
คำถามที่พบบ่อย
ค่าใช้จ่ายในการปลูกผมในผู้หญิงอาจแตกต่างกันอย่างมาก และขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของปัญหาผมร่วง จำนวนกราฟต์ทีใช้ปลูก เทคนิค เครื่องมือที่ใช้และความชำนาญของศัลยแพทย์ปลูกผม
ข้อดีของวิธี FUT ก็คือ ไม่จำเป็นต้องโกนบริเวณ Donor Area ที่ด้านหลังศีรษะ ดังนั้นจึงสามารถปกปิดแผลเป็นได้ง่ายในผู้หญิง แต่ข้อเสียก็คือ ยังคงมีแผลเป็นแบบขีดอยู่
ปัจจุบันเรามีเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า Long Hair DHI ที่ใช้หัวเจาะขนาดเล็กเจาะกอผมออกมาได้ โดยไม่ต้องตัดหรือแม้แต่เล็มผม และ ย้ายเส้นผมที่มีความยาวปกติมาปักบริเวณ Recipient Area ได้เลย ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นธรรมชาติมากตั้งแต่วันแรกทีเดินออกจากห้องผ่าตัด
หลังการปลูกผม คุณสามารถดูแลและตกแต่งผมได้เช่นเดียวกับผมปกติ หลังจากหายดีแล้ว คุณสามารถทำสีผม ตัดแต่ง ดัดผม ได้ตามต้องการ โดยแพทย์จะเป็นผู้ตรวจความแข็งแรงของผมที่ขึ้นใหม่และหนังศีรษะก่อนที่จะอนุญาต
ผมที่นำมาใช้ในการปลูกผมนั้นนำมาจากบริเวณที่มีความต้านทานต่อฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วง (ในโรคผมร่วงจากพันธุกรรม) และผมจากบริเวณนี้จะยังคงมีคุณสมบัตินี้หลังจากนำไปปลูก ผมจะขึ้นใหม่ตามวงจรของผมตามปกติ